วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

โครงงาน





























































โครงงาน


เรื่อง สำรวจสวนประวัติศาสตร์ ป๋าเปรม

โดย
นางสาวธันยพร เพชรบุรี เลขที่ 7
นายภูดิศ สนิทมัจโร เลขที่ 15
นางสาวสิรีธร จันทร์ลอย เลขที่ 29
นายปฏิพล บินหมัด เลขที่ 36
นางสาวปัณชนิตย์ พาหุมันโต เลขที่ 45
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/10

คุณครูที่ปรึกษา คุณครูการุนย์ สุวรรณรักษา

โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา




รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนแบบโครงงาน ระดับ ม.5
รายวิชา ส32103 วิชาประวัติศาสตร์ไทย
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553

บทคัดย่อ

โครงงานสำรวจสวนประวัติศาสตร์ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการทำผลงานในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทย เพื่อฝึกทักษะในเรื่องของวิธีการทางประวัติศาสตร์ รวมถึงเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยในการทำโครงงานชิ้นนี้ เราได้ไปศึกษา ณ สวนประวัติศาสตร์
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และได้รวบรวมความรู้ข้อมูล มาจัดทำเป็นโครงงาน



กิตติกรรมประกาศ

โครงงานสำรวจสวนประวัติศาสตร์ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ปกครองของ
นางสาวธันยพร เพชรบุรี ได้เสียสละเวลาไปรับไปส่งและค่าใช้จ่ายในการเข้าชมหอประวัติและวิทยากร นางสุนิฐา ทองมณี ที่แนะนำและให้ความรู้แกคณะของกลุ่มดิฉัน















บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญ สวนประวัติศาสตร์ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานติณสูลานนท์ ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นสถานที่ที่ชาวสงขลาและผู้มีจิตศรัทธาในคุณความดี ความเสียสละของ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ร่วมมือกันจัดสร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติ โดยสร้างอาคารอเนกประสงค์ เพื่อเป็นสถานที่ประชุมสัมมนาระดับนานาชาติ ปัจจุบันปรับปรุงเป็นหอประวัติ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณเป็น สวนสาธารณะ แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลน ค่ายพักแรม(Camping) เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแหล่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา

วัตถุประสงค์
1. เพื่อฝึกทักษะการทำโครงงาน
2. เพื่อทำผลงานในวิชาประวัติศาสตร์ไทย
3. เพื่อฝึกทักษะเกี่ยวกับวิธีการทางประวัติศาสตร์




ขอบเขตของการศึกษา
1. ไปทัศนะศึกษาเป็นกลุ่ม ณ สวนประวัติศาสตร์วันที่ 17 ก.ค. 53
2. รวบรวมข้อมูลเป็นกลุ่ม 23 ส.ค. 53






บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ประวัติความเป็นมา
สวนประวัติศาสตร์ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานติณสูลานนท์ ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นสถานที่ที่ชาวสงขลาและผู้มีจิตศรัทธาในคุณความดี ความเสียสละของ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ร่วมมือกันจัดสร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติ โดยสร้างอาคารอเนกประสงค์ เพื่อเป็นสถานที่ประชุมสัมมนาระดับนานาชาติ ปัจจุบันปรับปรุงเป็นหอประวัติ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณเป็น สวนสาธารณะ แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลน ค่ายพักแรม(Camping) เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแหล่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา โดยนายบัญญัติ จันทน์เสนะ ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยทีมงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเป็นศูนย์กลางความร่วมมือของผู้มีจิตศรัทธาในการก่อสร้าง

ต่อมา มูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้เข้ามาเป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดการ ดูแล บำรุงรักษา จนถึงปัจจุบัน สวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับการพัฒนา มีความก้าวหน้ามาเป็นลำดับ คาดว่าพร้อมจะเปิดบริการต่อสาธารณชน ในปี พ.ศ. 2552 และมีเป้าหมายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ โดยเชื่อมโยงกับสถานที่แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ (Aquarium) วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ และแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในจังหวัดสงขลา

สภาพปัจจุบัน สวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีพื้นที่ 140 ไร่ ตั้งอยู่ที่เชิงสะพานติณสูลานนท์ หมู่ที่ 2 ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลาแบ่งพื้นที่ตามรูปแบบของการใช้ประโยชน์ เป็น 3 ส่วน ด้วยกัน คือ



บริเวณที่ 1 (Zone 1)
ประกอบด้วย หอประวัติพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ รูปเหมือน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และบ้านพธำมะรงค์ (จำลอง) เพื่อเชิดชูเกียรติคุณงามความดีของ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ



บริเวณที่ 2 (Zone 2)
ประกอบด้วย สวนสาธารณะ ประติมากรรมกลางแจ้ง สวนพฤกษศาสตร์ สวนตาลโตนด แหล่งน้ำกลางสวน เวทีเปิด อัฒจันทร์ธรรมชาติ ลานวัฒนธรรมกลางแจ้ง ศูนย์จำหน่ายเครื่องดื่ม อาคารบริการท่าเทียบเรือ และศูนย์บริการท่องเที่ยวทางน้ำ


บริเวณที่ 3 (Zone 3)
ประกอบด้วย ศูนย์บริการการเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน มีสะพานเดินศึกษาธรรมชาติชีวภาพป่าชายเลน (walk way) ความยาว 800 เมตร มีศาลานิทรรศการ 4 ศาลา เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลน มีลานพักแรม (Camping) สำหรับนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ตลอดจนศูนย์ฝึกอบรม (ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 11) อาคารบ้านพักพนักงาน และ เรือนเพาะชำ



ประโยชน์ที่ได้รับจกการทำโครงงาน
ในการทำโครงงานเรื่องนี้เราได้ความรู้ต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความเป็นมาในอดีตของไทยในสมัยพลเอกเปรม ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ และยังสามารถใช้เวลาให้เกิดประโยชน์รวมถึงเป็นการฝึกทักษะในการทำโครงงานอีกด้วย











ประวัติ

ชีวิตในวัยเด็ก
ความรักและความหวังดี กอรปกับการปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างอันดีงามของบิดาและมารดาเป็นวิถีอันประเสริฐสุดที่หล่อหลอมให้ลูกมีจิตสำนึกใฝ่ดี และสิ่งนั้นคือ ก้าวแรกที่มั่นคงของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๒ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล “ ติณสูลานนท์ ” ให้รองอำมาตย์โท ขุนวินิจ ทัณฑกรรม (บึ้ง) พธำมะรงค์ จังหวัดสงขลา ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ถือศักดินา ๖๐๐ ไร่
พระมหาเวก ทยฺยสุวณฺโณ วัดชนะสงคราม ได้อธิบายความหมายของนามสกุลว่า
‘ ติณสูล ’ แปลว่า ของมีคม เช่น หลาว หอก ดาบ
‘ นนท์ ’ แปลว่า ความเบิกบาน ความยินดี
“ ติณสูลานนท์ ” แปลว่า ความยินดีในของมีคม อันเป็นเครื่องมือสำหรับพธำมะรงค์ (พัศดี) ในการป้องกันปราบปรามมิให้นักโทษก่อความวุ่นวาย ซึ่งอาจจะหมายถึง ความยินดีในการปฎิบัติหน้าที่พธำมะรงค์ หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมงกุฎราชกุมาร ซึ่งอัญเชิญมาประดิษฐานในมงคลเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพ เมื่อ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙
เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๙ อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ครั้งนั้น เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช (ครอบคลุมพื้นที่เมืองสงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี ยะลา ยะหริ่ง ระแงะ รามัณห์ สายบุรี และหนองจิก) ได้จัดงานมงคลเฉลิมฉลองพร้อมทั้งปรึกษากับพระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ดำริจะจัดตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองสงขลา โดยใช้เงินส่วนหนึ่งจากการเรี่ยไรจัดสร้าง ในการนี้ ได้พร้อมใจกันขนานนามโรงเรียนว่า“มหาวชิราวุธ” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ



ล่วงมาถึง พ.ศ.๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จประพาสมณฑลปักษ์ใต้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ได้นำความกราบบังคมทูลเรื่องการใช้พระบรมนามาภิไธยของพระองค์ท่านเป็นนามโรงเรียน โดยยังมิได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ครั้นความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้นามโรงเรียนนี้ว่า “มหาวชิราวุธ” ต่อไปตามเดิม ในโอกาสนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรโรงเรียนด้วยพระองค์เอง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างเหลือล้น และเป็นเกียรติยศอย่างสูงแก่เหล่าคณาจารย์ และนักเรียนโรงเรียนมหาวชิราวุธ
ครูเคล้า คชาฉัตร ครูผู้เป็นที่รักของลูกศิษย์
ครูเคล้า คชาฉัตร เป็นครูโรงเรียนมหาวชิราวุธสงขลา ระหว่างปี ๒๔๖๘ – ๒๕๐๕ นักเรียนมหาวชิราวุธสมัยนั้น ไม่มีใครไม่รู้จักท่าน ภาพของครูเคล้าที่นักเรียนสมัยนั้นจดจำกันได้ดี คือ ท่านมีลักษณะเป็นผู้นำ มีอารมณ์ขัน สอนเก่ง ทำอะไรให้นักเรียนหัวเราะได้ตลอดเวลา และยังเป็นผู้มีความสามารถหลายด้านทั้งการโต้วาที เล่นหนังตะลุง เล่นโนรา การละคร ครูเคล้าเป็นที่ชื่นชมของลูกศิษย์มาก ทุกเย็นเมื่อครูเคล้าจะขี่จักรยานกลับบ้าน เด็กๆ จะเดินตามห้อมล้อมขอให้เล่านิทานให้ฟัง ครูเคล้าก็จะเล่าตามแบบของท่าน ใช้มุขตลกและลีลาน้ำเสียงให้ฟังสนุก สอดแทรกคำสอนให้เด็กๆจดจำเข้าใจง่าย และเช้าวันไหนถ้าครูเคล้าเป็นครูเวร ทำหน้าที่กล่าวอบรมช่วงเคารพธงชาติ มักจะไม่มีนักเรียนขาดลามาสาย เพราะอยากฟังครูเคล้าพูดนักเรียนบางคนยอมเรียนซ้ำชั้น เพียงเพื่อจะได้เป็นนักเรียนในชั้นที่ครูเคล้า คชาฉัตร เป็นครูประจำชั้น ทุกวันนี้ ชื่อของครูเคล้า คชาฉัตร ยังเป็นที่กล่าวถึงในหมู่ครูนักเรียนมหาวชิราวุธ และเป็นความประทับใจอย่างลึกซึ้งของศิษย์เก่ามหาวชิราวุธที่ชื่อ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ “ครูเคล้า คชาฉัตร เกิดมาเพื่อเป็น “ครู” โดยแท้ มีจิตวิญญาณของ “ความเป็นครู” มีความเป็น “ครูอาชีพ” มีความรักศิษย์เป็น “แรงบันดาลใจ” ให้สำหรับผม ครูเคล้าเป็นทั้ง “ครู” และ “พ่อผม” ในเวลาเดียวกัน.. ผมดีใจที่มีผู้เขียนถึงครูเคล้า* ครูเล็กๆ คนหนึ่งของโรงเรียนมหาวชิราวุธ ครูผู้มีส่วนสำคัญชีวิตผม ทำให้ “ผมเป็นผม” จนถึงทุกวันนี้”
*หนังสือครูเคล้า คชาฉัตร ครูของรัฐบุรุษ เขียนโดยนายถนอม ขุนเพ็ชร์

ประวัติ
ครูเคล้า คชาฉัตร เกิดเมื่อ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๔๗ ที่ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมืองสงขลา สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ และสอบได้วุฒิครูมูลสามัญ ระดับประกาศนียบัตรครูประถม (ป.ป.) เข้ารับราชการเป็นครูชั้นจัตวาโรงเรียนมหาวชิราวุธ เมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๔๖๘ ได้เลื่อนชั้นเป็นครูตรี เมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๐๕ ครูเคล้าถึงแก่กรรมในระหว่างรับราชการ เมื่อ ๒๕ เมษายน ๒๕๐๕ ด้วยโรคฝีฝักบัว ขณะอายุ ๕๗ ปี รวมระยะเวลาเป็นครูโรงเรียนมหาวชิราวุธ ๓๗ ปี

ในสมัยที่หลวงชัยจิตกรรม (ชัย จิตรกุล) เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาวชิราวุธ คนที่ ๘ คณะนักเรียนเก่าได้จัดตั้งสมาคมนักเรียนเก่าเป็นผลสำเร็จ จดทะเบียนตามกฎหมาย ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๗ เนื่องจากหลวงชัยจิตรกรรมมีความรู้ทางวิจิตรศิลป์ จึงได้นำเครื่องหมาย “วชิราวุธ” ซึ่งเป็นตราประจำรัชกาลที่ ๖ มาเป็นตราโรงเรียน พร้อมกันนั้น ท่านเจ้าคุณพระวินัยโมลี (ถกล กุสโล) ได้ให้กำหนดคำบาลีว่า รกฺขาม อตฺตโน สาธํ (อ่านว่า รักขามัด อัตตะโน สาทุง) แปลว่า พึงรักษาความดีของตนไว้ (ประดุจเกลือรักษาความเค็ม) เป็นภาษิตประจำโรงเรียนชาวมหาวชิราวุธทุกคนล้วนภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสเข้ามาอยู่ในรั้วโรงเรียนมหาวชิราวุธ เนื่องจากเป็นโรงเรียนแห่งแรกของจังหวัดสงขลา ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เนื่องในวาระอันเป็นมงคล คือดำริจัดตั้งในวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระบรมนามาภิไธยเป็นนามโรงเรียน ต่อมา ทางโรงเรียนจึงได้อัญเชิญรูปวชิราวุธ มีรัศมี (วชิราวุธ – ศัตราวุธของพระอินทร์) เป็นตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน


นอกจากนั้น ยังมีเหตุการณ์ที่ถือเป็นประวัติศาสตร์สำคัญของโรงเรียน คือ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมโรงเรียนมหาวชิราวุธ และในสมัยรัชกาลที่๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมโรงเรียนมหาวชิราวุธเช่นกัน นับเป็นความภาคภูมิใจแก่ชาวมหาวชิราวุธทั้งอดีตและปัจจุบัน ยิ่งโดยเฉพาะผู้มีโอกาสได้เข้าเฝ้า ดังเช่น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นักเรียนมหาวชิราวุธ เลขประจำตัว ๑๖๗ ได้รำลึกถึงเหตุการณ์วันนั้นไว้ว่า


“เมื่อตอนที่ผมเรียนอยู่ชั้นมัธยม๔ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาเยี่ยมโรงเรียนของเรา... พระองค์ได้เดินมาใกล้โต๊ะที่ผมนั่งเรียนหนังสืออยู่ ตอนนั้นเรากำลังเรียนวิชาสรีรศาสตร์ เดี๋ยวนี้จะเรียกว่าอะไรผมไม่ทราบ และท่านก็อ่านออกเสียงสมุดที่ผมจดว่า “สะ- รี- ระ – ศาสตร์” แล้วก็ไม่ได้รับสั่งอะไร ทำให้เราภาคภูมิใจว่า โรงเรียนของเราพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างน้อยที่สุดก็สองพระองค์ได้เคยเสด็จมาทรงเยี่ยมโรงเรียนของเรา อันนั้นนอกจากจะเป็นเกียรติประวัติแก่โรงเรียนแล้ว ผมคิดว่าเป็นสิริมงคล เป็นบุญ เป็นกุศล พระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมโรงเรียน และนักเรียนของเราด้วย” พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เข้ารับการศึกษาชั้นประถมปีที่๑ ที่โรงเรียนมหาวชิราวุธสงขลา เมื่อปีการศึกษา ๒๔๖๙ ได้รับหมายเลขประจำตัวนักเรียน๑๖๗ เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ ความผูกพันของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ต่อโรงเรียนมหาวชิราวุธ ปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการกระทำและคำพูด ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า

“ทุกครั้งที่มาสงขลา สิ่งที่นึกถึงอยู่เสมอก็คงจะมีสองอย่าง อย่างหนึ่งก็นึกถึงพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเรา เดี๋ยวนี้ท่านอยู่ที่วัดใต้ (วัดดอนรัก อำเภอเมืองสงขลา) อย่างที่สอง คือโรงเรียนที่เราเคยเรียนหนังสือมา ซึ่งก็ถือว่าเป็นพ่อแม่ทางวิชาการของเรา ตั้งแต่เราเป็นเด็กๆ ได้อาศัยเรียนหนังสืออยู่ที่นี่ ได้อาศัยบุญคุณของครูที่สอนหนังสือให้เราจนเติบโตขึ้นมา สามารถมีความรู้ไปประกอบอาชีพได้ เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงบุญคุณของโรงเรียนมหาฯ ที่มีอยู่แล้วก็ใหญ่หลวงมาก เกินที่จะบรรยายให้ทราบได้ว่ามีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร รู้อย่างเดียวว่าถ้าไม่มีโรงเรียนมหาฯ แล้วเราก็อาจจะไม่เป็นคนอย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ หรืออาจจะเป็นคนที่ไม่ดี เป็นคนที่ไม่มีประโยชน์ต่อสังคม เป็นคนที่น่ารังเกียจ แต่เมื่อโรงเรียนมหาฯ ได้ปั้นให้เป็นคนดี และสามารถมีความรู้ สามารถประกอบอาชีพได้ เพราะฉะนั้นก็ไม่มีปัญหาที่เราจะถือว่าโรงเรียนนี้ คือ พ่อแม่ทางวิชาการของเราตั้งแต่เกิดมา” พ.ศ.๒๔๗๙ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สอบเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้สำเร็จสมความตั้งใจของบิดา ซึ่งมุ่งหวังให้ลูกๆได้รับการศึกษาอย่างดีที่สุด และในสมัยนั้นโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ขึ้นชื่อว่าเป็นโรงเรียนมัธยมชายอันดับหนึ่งของประเทศ ในช่วงนั้น บิดาได้ส่งลูกๆ เข้ามาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ แทบทุกคน ลูกชายคนโตสำเร็จจากโรงเรียนสวนกุหลาบฯ กำลังทำงานพร้อมกับเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ลูกสาวเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ ลูกชายอีกคนก็เรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ เช่นกัน

ทัศนียภาพกรุงเทพฯ ในราว พ.ศ. ๒๔๘๐บริเวณพระบรมบรรพตหรือภูเขาทองและตรอกบ้านบาตร
“ผมได้ไปอาศัยอยู่กับพระยาบรรณสิทธิ์ทัณฑการ ที่ตรอกบ้านบาตร ท่านเป็นญาติผู้ใหญ่ที่พ่อให้ความเคารพนับถืออย่างมาก พี่ชุบได้อาศัยอยู่กับท่านมาก่อนแล้ว ท่านและคุณหญิงให้ความเมตตาต่อพี่ชุบและผมมาก ท่านเลี้ยงเราเหมือนลูกเหมือนหลาน มีอะไรท่านก็แบ่งให้เรากิน ผมอาศัยอยู่กับท่านถึงสองปี เมื่อได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยจึงได้เข้าไปอยู่ในโรงเรียน”
“ช่วงแรกที่ผมเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ บ่อยครั้งที่ผมต้องอยู่บ้านคนเดียว เพราะพี่ชุบไปทำงาน นึกเขาก้อไปเช่าบ้านอยู่กับเพื่อนๆก็เหงามากเหมือนกัน คิดถึงบ้าน คิดถึงพ่อแม่ คิดถึงเพื่อนๆ ที่สงขลามาก” ศาลาเฉลิมกรุง โรงภาพยนตร์ทันสมัยแห่งแรกของไทย เปิดทำการเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ ฉายเรื่องมหาภัยใต้สมุทรเป็นเรื่องแรก

“หลวงพ่อสวนกุหลาบ” พระพุทธรูปประจำโรงเรียน
ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อพระราชทานแก่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๕ “...โรงเรียนที่มีอยู่แล้ว และอาศัยขึ้นต่อไปภาคหน้า โดยมากได้คิดจัดการโดยอุตส่าห์ เต็มกำลังที่จะให้เรียบร้อยพร้อมเพรียงเหมือนอย่างโรงเรียนนี้ และจะคิดให้แพร่หลายกว้างขวาง เป็นที่คนเรียนได้มากกว่าแต่ก่อน ทั้งจะมีโรงเรียนวิชาชั้นสูงขึ้นไปอีก ซึ่งได้กำลังคิดจัดอยู่บัดนี้ เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันลงไป ตลอดจนราษฎรที่ต่ำที่สุด จะได้ให้มีโอกาสเล่าเรียน ได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้าว่าขุนนาง ว่าไพร่...”

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานรางวัลในการไล่หนังสือ(สอบไล่)ครั้งแรก ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๗ โรงเรียนได้ย้ายที่ตั้งอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปี ๒๔๕๓ จึงได้ที่ตั้งใกล้วัดราชบุรราชวรวิหาร อันเป็นที่ตั้งปัจจุบัน ในการนี้ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงแนะนำให้สร้างอาคารเรียนเป็น “ตึกยาว” ทรงตรวจแบบอาคารด้วยพระองค์เอง และเสด็จมาทอดพระเนตรการเริ่มก่อสร้าง เมื่อ ๘ ตุลาคม ๒๔๕๓ ก่อนเสด็จสวรรคตเพียง ๑๘ วัน

คณะครู – นักเรียนโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ถ่ายเมื่อ ร.ศ.๑๑๖ ( พ.ศ. ๒๔๔๐) ช่วงเวลานั้น โรงเรียนตั้งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ในสมัยรัชกาลที่๒ เป็นสวนปลูกต้นกุหลาบ สำหรับเก็บดอกใช้ในราชการ ต่อมา สร้างเป็นที่ประทับของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่๕ ก่อนเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ
ตราประจำโรงเรียน พ.ศ. ๒๔๒๕ – ปัจจุบัน
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เข้าเรียนมัธยมปลายแผนกวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๙ หมายเลขประจำตัว ๗๕๘๗ เรียนจบปีการศึกษา๒๔๘๐ โดยมีมิสเตอร์เอ.ซี. เชอร์ชิลล์ ชาวอังกฤษเป็นอาจารย์ใหญ่ มีครูหนู อมาตยกุล และหลวงเสขสุนทร ซึ่งนักเรียนสมัยนั้นจดจำกฎระเบียบได้แม่นเพราะไม้เรียวของท่าน เป็นครูประจำชั้นชั้นมัธยม๘ข. พ.ศ.๒๔๘๐ ห้องของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์



ตึกยาว
ทำพิธีเปิดเมื่อ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๕๔ ปัจจุบันขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานแห่งชาติ

หลวงเสขสุนทร (พุ่ม บอกซ์)
ครูสวนกุหลาบ ช่วงปี ๒๔๕๘ – ๒๔๘๓
“ที่สวนกุหลาบ ผมใช้เวลาสองปี เรียนชั้นมัธยมปีที่ ๗ – ๘ ผมคิดว่า ครูที่สวนกุหลาบมีคุณภาพสูง มีความสามารถมากเมื่อเทียบกับโรงเรียนในส่วนภูมิภาค มีครูฝรั่งสอนหลายคน ตั้งแต่อาจารย์ใหญ่ ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษ ครูสอนคณิตศาสตร์สมัยนั้น นักเรียนสวนกุหลาบสอบชิงทุนได้มากทุกปี ใครๆ ก็อยากจะเข้าเรียนสวนกุหลาบ”

“ตอนที่ผมเรียนอยู่สวนกุหลาบ พ่อส่งเงินให้ใช้เดือนละ ๑๐ บาท พี่ชุบก็แบ่งให้ใช้บ้าง พี่ขยันก็แบ่งให้ใช้ เพราะเป็นนักเรียนประจำมีอาหารการกินพร้อมอยู่แล้ว สมัยนั้นเงิน ๑๐ บาท มากแล้วนะ ผมใช้ไม่หมด”

เมื่อจบมัธยมปลาย จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ตัดสินใจสอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก (รัชกาลที่๙ พระราชทานนามใหม่ว่า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑) ตามคำชักชวนของเพื่อนสนิท แม้เดิมจะเคยคิดอยากเป็นหมอ แต่เนื่องจากขณะนั้น ฐานะทางบ้านไม่อำนวยกับการเรียนแพทย์ซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินมาก “ในสมัยนั้น ผมไม่รู้จักว่าโรงเรียนนายร้อยอยู่ที่ไหน เพื่อนต้องพาผมไป ผมเองก็ไม่ค่อยได้สนใจมาก่อนว่านักเรียนนายร้อยเป็นอย่างไร เมื่อไปสอบก็สอบได้ ก็ได้รียนที่โรงเรียนนายร้อยด้วยกันทั้งสองคน แต่น่าเสียดายที่บุญเกิด ประภาศิริ ต้องลาออกไปในระหว่างการเป็นนักเรียนนายร้อยปีที่ ๒ เนื่องจากเป็นโรคประจำตัวที่ขัดต่อคุณสมบัติของการเป็นนักเรียนนายร้อย “ที่จริงตอนนั้น ทหารเป็นที่นิยมมากพอสมควรเพราะเป็นช่วงกำลังเรียกร้องดินแดนคืนจอมพล ป.(พิบูลสงคราม) เป็นนายกใหม่ๆ คนก็เคารพศรัทธามาก ทหารจึงได้รับความสนใจมากพอสมควร ผมก็คิดว่าคงจะเรียนสำเร็จแล้วได้ออกเป็นนายทหาร อยากจะทำหน้าที่ให้สมกับที่เรียนมา”

“ตอนเป็นนักเรียนนายร้อย ทางโรงเรียนจะมีรายการให้เราว่าจะต้องนำอะไรไปบ้าง เช่น กางเกงกี่ตัว เสื้อกี่ตัว สีอะไรบ้าง รวมทั้งจักรยานคันหนึ่ง ตอนนั้นพ่อผมยากจน ไม่สามารถที่จะหาของจนครบได้ ก็เอาไปแต่เพียงครึ่งเดียว แล้วไปบอกกับผู้บังคับบัญชาว่าผมหามาได้แค่นี้ ยังไม่มีเงินซื้อ ผู้หมวดท่านก็ไม่ว่าอะไร ก็มีความรู้สึกตื่นเต้นมากเพราะมันเป็นการเปลี่ยนชีวิตใหม่ แต่บังเอิญนักเรียนสวนกุหลาบสอบได้เยอะ มีคนรู้จักกันดูเหมือนจะกว่าครึ่ง สำหรับจักรยานที่ต้องจัดหาก็เพราะสมัยก่อนไม่มีรถยนต์ จึงต้องใช้เวลาออกไปฝึกนอกสถานที่เช่น ไปยิงปืนที่สนามเปา ก็ให้นักเรียนเข้าแถวขี่กันไป ส่วนรถของทางราชการนั้นก็ใช้บรรทุกพวกกระสุนหรือสัมภาระอื่นๆ ตามไป รวมทั้งพวกเจ็บป่วยหรือยังขี่จักรยานไม่เป็น ก็ให้นั่งรถยนต์ไป ส่วนตัวผมเนื่องจากตอนนั้นยังตัวเล็ก บางทีผู้หมวดท่านก็ให้ผมนั่งรถยนต์ไป และผู้หมวดท่านก็ขี่จักรยานของผม “โรงเรียนเท็ฆนิคเรียนกันค่อนข้างหนัก อย่างวิชาทหารปืนใหญ่ การเรียนต้องคิดคำนวณหลักฐานยิง ไม่มีตารางให้เปิดหาเช่นในสมัยนี้ พวกเราก็อยากจะเรียนกันให้เก่ง แต่ปัญหาที่ทำให้นักเรียนเรียนกันไม่เก่งนอกจากที่หัวดีจริงๆ เพราะว่าตอนเราเรียนอยู่โรงเรียนมัธยมศึกษา ตำราเป็นภาษาอังกฤษ และใช้ระบบอังกฤษตลอด วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์เป็นภาษอังกฤษหมด แต่พอเข้าโรงเรียนนายร้อยสมัยผมหนังสือเปลี่ยนระบบเป็นภาษาฝรั่งเศสหมดเลย เริ่มตั้งแต่ปี๑ อะไรๆ ก็เป็นภาษาฝรั่งเศสหมด ตำราก็ไม่มี ตำราคืออาจารย์เขียนแล้วไปพิมพ์โรเนียวมาแจก ไม่น่าอ่าน ผิดบ้างถูกบ้าง และก็ไม่ชินกับระบบของฝรั่งเศส จึงเรียนยาก พวกที่เรียนดีพอเข้าปี๑ ก็ตกไปเสียเยอะ... “ใครๆ ก็อยากเป็นทหารปืนใหญ่ เพราะจอมพล ป.(พิบูลสงคราม) ท่านเป็นทหารปืนใหญ่ ใครๆ ก็อยากเป็นอย่าง จอมพล ป. กันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นปืนใหญ่ พวกเราจึงเลือกกันทุกคน เลือกกันหมดทั้งชั้น... ตอนผมเข้าเป็นนักเรียน ผมตั้งใจเป็นทหารปืนใหญ่ และเลือกได้แล้วด้วยซ้ำ คือเราเลือกตอนปลายปี๓ ผมเลือกได้ และได้ไปฝึกปืนใหญ่แล้ว คือปืนแบบ๖๓ เป็นปืนภูเขาฝึกอยู่ตั้งนาน แต่พอดีเกิดสงครามทุกอย่างจึงเปลี่ยนไปหมด ผมจึงเลือกเป็นเหล่าทหารม้า”


พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรพิเศษของโรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ โดยใช้เวลาเพียง๓ ปี เนื่องจากช่วงนั้น เกิดกรณีพิพาทในอินโดจีน ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศส ประเทศต้องการกำลังทหาร จึงมีนโยบายเร่งรัดให้นักเรียนนายร้อยออกรับราชการก่อนกำหนด (หลักสูตรปกติ๕ ปี) นักเรียนรุ่นที่๕ ของโรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก จึงได้มีสมรภูมิรบเป็นสถานศึกษาให้เรียนรู้ความเป็นทหารอาชีพ ที่ชีวิตและวิญญาณก็มิได้เป็นของเขาอีกต่อไป แต่เป็นของประเทศชาติ สมดังคำปฏิญาณของนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าที่ว่า
“ข้าพระพุทธเจ้าจักรักษามรดกของพระองค์ท่านไว้ด้วยชีวิต”

ก้าวแรกของชีวิตนายทหารสำหรับผู้สำเร็จโรงเรียนเท็ฆนิคทหารบกรุ่นที่๕ หลักสูตรพิเศษรวมทั้ง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เรียกได้ว่ามีความพิเศษสมกับชื่อหลักสูตร กล่าวคือ ทันทีที่เรียนจบก็ถูกส่งเข้าปฏิบัติหน้าที่ในสมรภูมิสงครามอินโดจีน (กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส) อีกทั้งได้รับมอบกระบี่ด้วยพิธีการที่ไม่เหมือนรุ่นอื่นๆ
“นักเรียนนายร้อยรุ่นผมเป็นรุ่นเดียวที่ออกมาเป็นผู้บังคับหมวดตั้งแต่ยังติดตัว “ร” อยู่ คือยังมีสภาพเป็นนักเรียนนายร้อยอยู่ ตั้งแต่วันที่๓ มกราคม ๒๔๘๔ โรงเรียนนายร้อยจัดพวกผม ๑๗ คนให้มาสังกัดกรมรถรบ ตอนนั้นเราก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับหมวดแล้ว และมีทหารในบังคับบัญชาแล้ว ทหารเป็นทหารกองหนุนทั้งหมด เพราะทางราชการเรียกระดมกองหนุนเข้ามา นอกจากผู้บังคับหมู่๒คน และรองผู้บังคับหมวดอีกคนหนึ่งเท่านั้นที่เป็นทหารประจำการและตัวเรา เพราะฉะนั้นผมยังแต่งเครื่องแบบนักเรียนนายร้อย แต่เป็นผู้บังคับหมวดแล้ว... แม้เวลาตอนไปสงครามอินโดจีน ผมก็ยังเป็นนักเรียนนายร้อยที่นำหมวดไปสงครามอินโดจีน หลังจากนั้นอีก๑๗วัน ถึงได้รับการแต่งตั้งเป็นว่าที่ร้อยตรี”


รุ่นรับกระบี่แบบสนาม
“ผมไม่ได้รับพระราชทานกระบี่หรือได้ติดดาวเหมือนอย่างนายทหารสมัยนี้ แต่ผมไปติดดาวอยู่ที่ปอยเปตในเขมร ผมไปติดดาวอยู่ต่างประเทศ เพราะว่าได้รับคำสั่งให้ไปอยู่ที่ปอยเปตแล้ว ผู้บังคับการกรมท่านก็เรียกไปติดดาว วิธีรับกระบี่ของผมก็คือว่า กระบี่ก็ไม่มี พอกลับไปที่หมวด หมวดก็อยู่ในสนามอยู่ในป่าจ่ากองร้อยซึ่งผมยังจำชื่อได้ชื่อว่าจ่าบรรจง เอากระบี่มาโยนโครมแล้วบอกว่าหมวดเอาไปคนละเล่ม ตอนนั้นผมอยู่กัน๓คน คนหนึ่งก็คือ พลเอกสมศักดิ์ ปัญจมานนท์ นี่เอง พวกเราก็มาหยิบกันคนละเล่ม จึงนับว่าเป็นการออกเป็นนายทหารที่พิสดารที่สุดก็ว่าได้ เรียกว่าเป็นการรับกระบี่ “แบบสนาม”
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายทหารใหม่ เมื่อพ.ศ. ๒๔๘๔ กล่าวถึงประสบการณ์ในสมรภูมิแห่งแห่งไว้ว่า “พวกผมไม่มีโอกาสได้เที่ยวเตร่หรอก เพราะอยู่แต่ในสนามอยู่ในปอยเปต.. “ที่แปลกที่สุดก็คือว่า เรานึกว่าทหารทั่วๆ ไปจะมีระเบียบวินัยเหมือนกับนักเรียนนายร้อย แต่ที่จริงทหารกองหนุนเหล่านี้ อายุมากกว่าผมทุกคน ผมจบการศึกษาตอนนั้นอายุแค่ ๒๑ ปี ส่วนทหารกองหนุนก็ราว ๆ ๒๕ – ๒๖ ปีตัวโต ๆ น่ากลัวมาก บางคนเข้ามาก็เมาแล้ว เราก็ไม่ค่อยได้เคยปกครองคนมา ก็รู้สึกเหมือนกันว่ามันจะไหวหรือ แต่พวกเขาก็ดี ให้ความร่วมมือดีแล้วก็อยู่กันได้

“พวกผมไม่มีโอกาสได้เที่ยวเตร่หรอก เพราะอยู่แต่ในสนาม อยู่ในปอยเปต...” สงครามคือความสูญเสียไม่ว่าจะเป็นผู้แพ้หรือผู้ชนะ แต่สงครามอินโดจีนก็ได้ให้บทเรียนที่มีค่าเนื่องจากเป็นสงครามครั้งแรกของกองทัพไทย นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปรับปรุงกิจการทหารแบบสากลตะวันตก ทั้งยังได้ประจักษ์ถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทยทั้งชาติ ที่พร้อมเพรียงกันเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส กับซาบซึ้งในน้ำใจองประชาชนที่มีต่อทหาร เห็นได้จากการช่วยเหลือสนับสนุนสิ่งของอุปกรณ์ต่างๆโดยเฉพาะบริจาคเสบียงอาหารให้เป็นจำนวนมากทั้งที่ขณะนั้น กองทัพยังมิได้จัดระบบของกิจการพลเรือนที่กว้างขวางอย่างทุกวันนี้


“ที่น่าจะพูดถึงอีกประการหนึ่งคือ เราไม่ค่อยให้ความสนใจในเรื่องการส่งกำลังบำรุงกันมากนัก ... ในเรื่องของยุทธการ เราเชี่ยวชาญพอสมควร เพราะได้ศึกษามาจากระบบของฝรั่งเศส แต่ในเรื่องของการส่งกำลังบำรุงก็ดี หรือการทดแทนกำลังพลก็ดี เราไม่ค่อยได้ทำกันเท่าใดนัก เราจึงได้ประสบการณ์จากสงครามอินโดจีนนี้มากทีเดียว บังเอิญโชคดีที่ว่าสงครามอินโดจีนนี่ใช้เวลาน้อย ผมคิดว่าเราจึงไม่ค่อยมีปัญหา... นอกจากนั้น เรื่องของระบบการติดต่อสื่อสารเรามีไม่มากไม่เพียงพอ สมัยผมยังใช้ธงสัญญาณกันอยู่ ใช้ไฟสัญญาณกันอยู่ รวมทั้งใช้การเคาะโทรเลขด้วย ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้ใช้กันแล้ว เลิกไปแล้ว ก็เป็นเรื่องที่เราได้ปรับกองทัพของเราให้ทันสมัยพอสมควร แต่ขวัญของคนช่วยกันได้มาก คนที่เราผ่านไปตั้งแต่กรุงเทพถึงอรัญประเทศ เราเคลื่อนย้ายทางรถไฟ ระหว่างทางเราได้รับการต้อนรับอย่างดี เมื่อเราลงรถไฟที่อรัญประเทศก็ได้รับการต้อนรับอย่างดีเช่นกัน ทำให้พวกเรามีกำลังใจกันมาก เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้พวกเรามีขวัญและกำลังใจดี..”

จอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและนายทหารชั้นผู้ใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในที่สุดแล้วญี่ปุ่นจะไม่สามารถชนะสงครามต่อฝ่ายสัมพันธมิตรได้จอมพล ป. จึงมีแนวคิดทางยุทธศาสตร์ที่น่าสงวนกำลังกองทัพไทยไว้ไม่ให้ถูกญี่ปุ่นปลดอาวุธและยึดครองประเทศไทยเมื่อญี่ปุ่นเพลี่ยงพล้ำแล้วค่อยใช้กำลังทหารที่สงวนไว้นี้ สำหรับขับไล่ทหารญี่ปุ่นให้ออกไปจากประเทศไทย


จากแนวความคิดนี้จึงเกิดหนทางปฏิบัติ ด้วยการย้ายกำลังทหารบกส่วนใหญ่ไปไว้ทางทิศเหนือของประเทศ ซึ่งประจวบกับฝ่ายญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้ไทยทำตามข้อตกลงร่วมยุทธกับญี่ปุ่นโดยให้รัฐบาลไทยส่งทหารไปร่วมรบกับทหารญี่ปุ่นในประเทศพม่า ให้ฝ่ายไทยรับผิดชอบปฏิบัติการรบในพื้นที่รัฐฉาน (สหรัฐไทยเดิม) ดังนั้นกองบัญชาการทหารสูงสุดจึงจัดตั้งกองทัพพายัพขึ้นเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๘๔ เพื่อปฏิบัติการดังกล่าว


กองทักพายัพได้ปฏิบัติการยุทธในชั้นต่างๆในสหรัฐไทยเดิม เมื่อวงันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๘๕ และสามารถเข้ายึดเมืองสำคัญต่างๆในสหรัฐไทยเดิมได้ทั้งหมดจนนำกองทัพเข้าประชิดชายแดนพม่า-จีนในเขตแดนของมณฑลยูนนาน


สงครามยุติ
หลังจากสหรัฐอเมริกาส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮโรชิมาและเมืองนางาซากิ ญี่ปุ่นได้ประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตรอย่างไม่มีเงื่อนไข เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ สงครามมหาเอเขียบูรพาดำเนินมาเกือบ๔ ปี จึงยุติหลังจากสงครามอินโดจีนยุติ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้มีโอกาสกลับมาใช้ชีวิตนายทหารใหม่ในสถานการณ์ปกติที่กรุงเทพฯ แต่แล้วเพียงประมาณ 6 เดือน ก็ต้องส่งกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในสมรภูมิอีก เพราะเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาครั้งนี้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้หมวดประจำกองหนุนของกองทัพพายัพ และประจำกองหนุนของกองพลที่เชียงตุงในเวลาต่อมา พื้นที่ปฏิบัติการอยู่ในบริเวณภาคเหนือของไทยและดินแดนพม่า (สหรัฐไทยเดิม) ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษในสมัยนั้น จนกระทั่งช่วงปลายของสงคราม ประมาณต้นปี ๒๔๘๘ จึงย้ายมาเป็นผู้บังคับกองร้อยที่ลพบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เตรียมเปิดศึกกับญี่ปุ่น “พวกเรารู้เหมือนกันว่า เราคงต้องออกสนามอีกแล้ว เราก็ฝึกทหาร ฝึกกันมากโดยเฉพาะการฝึกกลางคืนทำกันมากเพราะต่างคนต่างรู้ว่าคงจะต้องรบกันอีกแล้ว สำหรับทหารจากอินโดจีนก็ปลดไปแล้วเรียกทหารประจำการเข้ามา การฝึกทหารในสมัยนั้นไม่เหมือนสมัยนี้ คือไม่มีกองร้อยฝึกเป็นส่วนรวม ต่างกองร้อยก็ต่างฝึกทหารของตัวเอง กองร้อยหนึ่งๆก็กำหนดตัวผู้หมวดเป็นผู้ฝึก “พวกเราไม่ได้รู้สึกหวาดกลัวอะไรกันนักกับสงคราม คงเป็นเพราะยังหนุ่มมาก ผมเข้าใจว่าคนไทยส่วนใหญ่ได้รับการอบรมในทางให้รักชาติบ้านเมืองสูงมาก มีจิตสำนึกที่จะเสียสละเพื่อชาติบ้านเมืองสูงมาก เห็นได้ชัดเจนเลยว่าทุกคนรักและเสียสละให้ชาติบ้านเมืองมาก “คราวนี้ผมไปนานตั้งแต่ปี ๒๔๘๕ กลับมาปี ๒๔๘๘ รวม ๔ ปี คนอื่นก็อาจอยู่นานกว่าผมอีก คือไปก่อนแต่กลับทีหลังก็มี คราวนี้ยิ่งมีบทเรียนมากขึ้นไปอีก...“รู้สึกอย่างนั้นจริงๆ แต่ตอนนั้นมันยังไม่ค่อยคิดถึงเรื่องอื่นๆ มันคิดแต่ว่า เอ๊ะ...เมื่อไหร่เราอาจจะตายก็ไม่รู้ ก็ทำหน้าที่ ผมไม่ได้คิดถึงเรื่องอะไรมาก ไม่เคยคิดว่าจะเก็บเงินเก็บทองเพื่อตั้งตัวตั้งหลักฐานไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้ คิดแต่ว่าทำอย่างไรเราถึงจะดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาของเราให้ดีที่สุด...”


“ผมคิดว่าพ่อท่านก็คงห่วง แต่ผมไม่ค่อยได้ติดต่อมาบ้าน เพราะการติดต่อทำยาก แม้ทางจดหมาย เพราะสมัยก่อนไม่มีตู้ไปรษณีย์อย่างสมัยใหม่ การจะเขียนจดหมายก็ทำลำบากไม่ทั่วถึง มันยากที่จะติดต่อกัน นอกจากจะได้ลาพักทีหนึ่ง ก็ได้มาพักบ้านทีหนึ่ง ตั้งแต่ผมไป ๔ ปีนี้ที่จริงเขาให้ลงพักบ่อย แต่ผมลามาหนเดียวแล้วไปเยี่ยมบ้านที่สงขลา นอกนั้นก็ไม่เคยลา เพราะผมห่วงลูกน้องผู้ใต้บังคับบัญชาของผมมาก คิอมันอยู่เป็นอิสระจริงๆ ๔๐ คนนี่อยู่ด้วยกันโดยตลอด “ทหารมันอยู่กันนานเสียจนเหมือนพ่อเหมือนลูก ช่วยเหลือกันทุกอย่างเท่าที่ช่วยกันได้ ใครมีก็แบ่ง ไม่เคยคิดว่าอะไรเป็นสมบัติของใคร ทุกคนมาอยู่ที่ผู้หมวดหมด หมวดว่าอย่างไรก็ว่าตามนั้น ไม่มีปัญหาในการบังคับบัญชาทุกคนพร้อมใจกันหมด อดก็อดด้วยกัน ไม่ได้กินก็ไม่ได้กินด้วยกัน มีหลายคราวที่เราอดข้าวกัน แต่ทุกคนก็ยอม ทุกคนเข้าใจว่าเมื่อมันไม่มีก็ไม่กิน... “การเข้าที่พัก หน่วยเหนือไม่ได้กำหนดให้เราว่าจะเข้าพักที่ไหน เพียงแต่กำหนดบริเวณว่ากองร้อยจะอยู่บริเวณนี้ เพราะฉะนั้นต่างหมวดก็ต่างเลือกว่าใครจะอยู่ตรงไหนบ้าง สำหรับมหารไทยเจอวัดที่ไหนก็เลี้ยวเข้าไปก่อน พวกเราจึงอยู่วัดกันส่วนใหญ่ ไม่วัดใดก็วัดหนึ่งอาศัยวัดเป็นที่ตั้งในเชียงตุงของพม่าวัดเยอะ สิ่งที่ยุ่งยากที่สุดของปัญหาที่พัก คือการรักษาพยาบาลและการส่งกลับ ขาดแคลนเหลือเกิน ยาก็ไม่มี ทุกคนต้องช่วยตัวเองกันทั้งนั้น การแจกจ่ายแทบเป็นไปไม่ได้นานๆจะมีสักครั้งทุกคนต้องช่วยตัวเองผมเป็นผู้หมวดก็พยายามหาตุนไว้ ขอหมอบ้าง ซื้อด้วยเงินของเราเองบ้าง เก็บเอาไว้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ใช้ในการรักษาตัว ผมเห็นทหารของผมตายไปต่อหน้าต่อตา เพราะไม่มียารักษาเป็นมาลาเรีย การสูญเสียของหมวดผมมีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น...”


“...ตลอด ๔ ปี ไม่ได้ทำการรบแบบทหารม้าเลย เพราะตอนนั้นบทบาทของทหารม้าก็มีเป็นกองหนุน บังเอิญผมเป็นทหารม้ายานเกราะ ซึ่งลักษณะภูมิประเทศที่ใช้นั้นไม่ค่อยมี มักใช้ทหารขี่ม้าในการลาดตระเวนหรือไว้ระวังป้องกันทางปีก ซึ่งตอนนั้นทหารม้าขี่ม้ามีอยู่ ๔ กองพัน “ผมทำหน้าที่เป็นกองหนุนนานๆก็ได้รับภารกิจพิเศษเสียครั้งหนึ่ง แต่เราได้บทเรียนด้านการส่งกำลังเป็นอย่างมาก เพราะตอนนั้นเกิดความขาดแคลนมาก เราได้รับบทเรียนว่า การพึ่งตนเองนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ผมเป็นผู้บังคับหมวดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ ถึง ๒๔๘๘ สิ่งที่เราได้รับจากกองร้อยก็คือ ข้าวสาร น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราต้องนำไปเองในการเคลื่อนย้าย ถังน้ำมันก็ไม่มี ดังนั้นทุกคนจึงต้องคิดหาวิธีช่วยตัวเองว่า จะเคลื่อนย้ายสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง หน่วยเหนือมอบรถบรรทุกให้เราคันหนึ่งสำหรับเคลื่อนที่ติดตามหมวดในการเคลื่อนย้ายไปตามตำบลต่างๆที่กำหนดมาให้ เนื่องจากความขาดแคลน การเคลื่อนย้ายน้ำมันจึงไม่มีถัง สิ่งที่ผมทำคือตัดกระบอกไม้ไผ่เอาน้ำมันใส่แล้วเคลื่อนย้ายไป ซึ่งใช้ได้ผลดี ทุกคนก็เข้าใจ รถทุกคันจึงมีกระบอกไม้ไผ่ของตัวเอง และนำน้ำมันไปได้”


เมื่อภารกิจราชการสงครามเสร็จสิ้นลง ร้อยโท เปรม ติณสูลานนท์ ได้ใช้ชีวิตของนายทหารในห้วงเวลาปกติ และเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการมาตามลำดับ ดังนี้

• ได้รับพระราชทานยศร้อยเอก เมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๔๘๙ และเป็นผู้บังคับกองร้อยที่ ๒ กองพันที่ ๑ กรมรถรบ เมื่อ ๒๓ กรกฎาคม ปีเดียวกัน
• เข้าศึกษาเป็นนายทหารฝึกหัดราชการ โรงเรียนนายทหารม้า เมื่อ ๔ ธันวาคม ๒๔๘๙ เมื่อจบการศึกษาได้กลับมารับตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยเดิม อีกครั้งหนึ่งเมื่อ ๒๙ สิงหาคม ๒๔๙๐
• รับตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยที่ ๓ กองพันทหารม้าที่ ๔ จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒
• เลื่อนขั้นเป็นรองผู้บังคับกองพันที่ ๑ กรมรถรบ เมื่อ ๘ เมษายน ๒๔๙๒ ในตำแหน่ง “รักษาราชการ” และได้รับพระราชทานยศพันตรี เมื่อ ๑ กรกฎาคม ปีเดียวกัน
• เลื่อนขั้นเป็นรองผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ ๔ จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๔๙๓ และได้รับตำแหน่งเป็นผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์อีกตำแหน่งเมื่อ ๗ กรกฎาคม ปีเดียวกัน

หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ กิจการทหารของไทยได้มีการปรับปรุงขนานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยรับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ส่วนหนึ่งของการปรับปรุง คือโครงการส่งนายทหารจากกองทัพไทยไปศึกษายังประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนำวิทยาการและแนวความคิดต่างๆ ของกองทัพสหรัฐอเมริกามาประยุกต์ใช้กับกองทัพไทย



พันตรี เปรม ติณสูลานนท์ เป็นหนึ่งในนายทหารหนุ่มที่สามารถสอบผ่านการแข่งขัน ได้ทุนของกองทัพบกไปศึกษาในโรงเรียนยานเกราะของกองทัพสหรัฐอเมริกา (The United States Army Armor School) ที่ฟอร์ท นอกซ์ มลรัฐเคนตักกี เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖
การไปศึกษาต่อครั้งนี้ จึงเป็นการเดินทางไกลต่างแดนครั้งแรกของท่าน ซึ่งในสมัยนั้น เรียกได้ว่าเป็นเรื่องเชิดหน้าชูตา เป็นเกียรติ เพราะคนไทยไปนอก และนักเรียนนอกยังไม่มีมากเช่นปัจจุบัน


อาหารการกิน
“พวกนักเรียนต่างขาติที่ไปเรียนนั้นมาก ญี่ปุ่นเต็มไปหมด เกาหลี พวกอเมริกากลางก็มี ไทยมีน้อย จีนก็มาก พวกจีนเจียงไคเชค สำหรับคนไทยที่ไปเมืองนอก เรื่องกินค่อยข้างลำบาก เพราะเราไม่คุ้นเคยกับระเบียบและวิธีการของเขา โดยเฉพาะในโรงเรียนทหารตื่นกินข้าวกันตั้งแต่หกโมงครึ่งแล้วก็กินอาหารแบบฝรั่งซึ่งเรากินลำบาก แต่เราก็ต้องไปกินกับเขา เพราะราคาถูกดี มื้อกลางวันก็เหมือนกัน แต่ตอนมื้อเย็น ส่วนมากแอบทำเอง..คือเขาห้ามหุงอาหารในที่พัก แต่ผมว่าไม่ใช่เฉพาะคนไทยหรอก ชาติต่างๆก็กินไม่ได้ ก็หุงกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นในหมู่คนไทยเย็นก็มักจะมาหุงข้าวกินกัน ใครทำอะไรเป็นก็ทำ ส่วนมากทำง่ายๆ ไข่เจียว ผัดโน่น ผัดนี่ แต่มันส่งกลิ่นพอสมควร เราต้องปิดโน่นปิดนี่ให้มิดชิด”


วิชาทหารไม่ยาก แต่ภาษาอังกฤษยาก
“ตอนผมไปเรียนวิชามันก็ไม่ยากอะไร เพราะว่ามันก็เหมือนกับที่บ้านเราเรียนกันไปก่อนอยู่แล้ว แต่เราเรียนภาษาไทย
บางวิชาก็ยาก ยากพอสมควร อย่างวิชาลักษณะผู้นำ ต้องเขียน ครูเขาก็เดินมาถามว่า เป็นอย่างไรข้อสอบเป็นอย่างไร ยากไหม นักเรียนไทยส่วนมากก็ตอบว่า ข้อสอบไม่ยากหรอก แต่ภาษาอังกฤษยากมาก เพราะอ่านไม่ค่อยทันนั่นเอง”


ไมตรีในต่างแดน
“ตอนคุณพิจิตร (พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์) แบะคุณวิจิตร (พลเอกวิจิตร สุขมาก) ยังไม่ได้เข้าโรงเรียนนายร้อย (เวสท์ปอยนท์) เขากับอยู่กับครอบครัวหนึ่งชื่อเบนจามิน ซึ่งมีพ่อกับแม่สองคนเท่านั้น ท่านมีลูกชายอยู่คนหนึ่งแต่ไปตายในเกาหลี คิดถึงลูกชายก็เลยรับนักเรียนไทยไปอยู่ ซึ่งหมายถึงนายทหารไทย ก็รับไปอยู่เรื่อยๆเป็นลำดับติดต่อกันมาหลายคน ผมโอกาสไปอยู่กับท่าน ทั้งสองคนเป็นคนดีมาก ท่านคิดพวกเราเดือนละ 6 เหรียญเท่านั้น ทั้งอยู่ทั้งกินเสร็จ ตอนปิดเทอมผมกลับไปอยู่กับท่านทั้งสอง ซึ่งท่านก็รักคนไทยมาก ชื่นชมคนไทย ช่วยเหลือคนไทยดี และที่ดีอีกอย่างหนึ่งคือ ตอนนั้นผมอยู่มี่คุณพิจิตร คุณวิจิตร และคุณเกษม (พันเอก เกษม นันทกิจ) รวมทั้งผม อยู่กัน ๔ คน ท่านก็ไม่อยากให้เราพูดภาษาไทยกัน เพราะบอกว่าไม่มีประโยชน์ถ้ามานั่งพูดภาษาไทยกันอยู่ที่นี่ ท่านบังคับว่าอยู่บ้านนี้ห้ามพูดภาษาไทยกัน คือเจอหน้ากันก็ต้องพูดภาษาอังกฤษกัน ถ้าได้ยินใครพูดภาษาไทย ก็ปรับครั้งละหนึ่งสลึงคือควอเตอร์หนึ่ง แล้วใส่เก็บไว้.. เป็นครอบครัวที่ดีมาก จนแต่ว่าใจดี แล้วยังสั่งสอนเราทุกอย่าง ช่วยทำโน่นทำนี่ ดูแลเรา เราก็เรียกท่านว่าพ่อและแม่.. กลับมาแล้วก็ยังติดต่อกันอยู่เสมอๆ ถึงวันเกิดท่านก็ส่งบัตรอวยพรไป....ครั้งหนึ่งผมได้ไปอเมริกาก็แวะไปเยี่ยม ซึ่งท่านก็ดีใจมาก และทุกครั้งที่ผมไปอเมริกา ผมจะต้องโทรศัพท์ไปเสมอ ตอนที่ผมเป็นนายกฯแล้วนี่ผมเคยโทรฯไปคุยกับท่าน ซึ่งก็ดีใจมาก....”เมื่อพันตรี เปรม ติณสูลานนท์ สำเร็จการศึกษาวิชาทหารของกองทัพสหรัฐอเมริกาแล้ว ทางราชการได้บรรจุให้เป็นอาจารย์ประจำแผนกวิชายุทธวิถี กองการศึกษา โรงเรียนยานเกราะ ที่เกียกกาย กรุงเทพฯ เมื่อ ๒๔ เมษายน ๒๔๙๖


“ที่จริงผมก็ไม่ค่อยจะเสน่หาตำแหน่งอาจารย์เท่าไหร่หรอก พวกเราอยากเป็นผู้บังคับบัญชากันทั้งนั้น แต่บังเอิญตอนนั้นพวกจบจากต่างประเทศมีจำนวนน้อย ก็จัดผมไปเป็นอาจารย์ ต้องไปสอนหนังสือ ซึ่งก็ดีเหมือนกัน สอนหมดตั้งแต่นักเรียนนายสิบ นักเรียนนายร้อย นายทหาร นักเรียนทุกชั้น ชั้นนายร้อยนายพัน ตอนนั้นวิชาค่อนข้างจะสอนง่ายเพราะคนยังรู้น้อย ระบบใหม่ของอเมริกันคนยังรู้น้อย ก็สอนสะดวกไม่เหมือนสมัยใหม่คนรู้กันเยอะแล้ว ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาเยอะแยะไปหมด นับว่าก็ดี แต่จริงๆแล้วถ้าเลือกได้ ก็ยังจะเลือกเป็นผู้บังคับบัญชามากกว่าจะเลือกเป็นอาจารย์....”



ชีวิตของการเป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็นชีวิตที่แปลกประหลาดพิสดารสำหรับผมเอาการ อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้ารับตำแหน่งนี้แล้วก็จะต้องทำต่อไปให้ดีที่สุด โดยยึดเอาพระบารมีเป็นที่ตั้ง และจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกๆฝ่ายด้วย สิ่งที่ผมและเพื่อนร่วมงานของผมเน้นในการพัฒนาชนบทตามแนวทางใหม่นี้ก็คือ จะพยายามพัฒนาโดยมุ่งยึดหลักการเข้าไปยกระดับความสามารถของตัวคน เพื่อให้ชาวชนบทช่วยตัวเองให้มากขึ้น โดยให้ความเข้าใจแก่เขา ดึงเขาให้เข้ามามีส่วนร่วม และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างถาวร พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ กล่าวถึงการแก้ปัญหาในชนบทในที่ประชุมของสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาล เมื่อ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒ “ทุกข์ของชาวนา คือทุกข์ของผม”


“...ฉันอยากไปดูสิ
ว่าพวกเธอทำอะไรกันอย่างไร
จะให้ฉันไปได้ไหม....”
กระแสพระดำรัสของ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ต่อพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ ๒)
ช่วงที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นแม่ทัพภาคที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๑๖ – ๒๕๒๐) ต้องเผชิญกับวิกฤติภัยคอมมิวนิสต์ในภาคอีสาน และได้ดำเนินยุทธวิธี “การเมืองนำการทหาร” แก้ไขจนสถานการณ์ความรุนแรงลดลงโดยลำดับ เป็นที่กล่าวขวัญกันทั่วไป ในวันที่ ๕-๗ มิถุนายน ๒๕๒๐ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ได้เสด็จไปประทับแรม ณ ฐานปฏิบัติการวรพัฒน์ บ้านนาม่วง ต.ดอนตาล อ.มุกดาหาร จ.นครพนม (ปัจจุบันอยู่ในเขตพื้นที่ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร) เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎร และโปรดให้หน่วยแพทย์ พอ.สว. ตรวจรักษาผู้ป่วยเจ็บในพื้นที่ พร้อมทั้งพระราชทานเสื้อผ้า เครื่องใช้และยาชุดตำราหลวงแก่คนชรา รวมทั้งพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสื้อชาวบ้าน ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรการปฏิบัติงาน ตลอดจนความเป็นอยู่ของทหารใน,ฐานปฏิบัติการวรพัฒน์ โดยมีพลโท เปรม ติณสูลานนท์แม่ทัพภาคที่ ๒ ในขณะนั้น ถวายการอารักขาอย่างใกล้ชิด


“...ผมในฐานะเป็นแม่ทัพก็ต้องคอยดูแลโดยใกล้ชิด คืนแรกที่ท่านเสด็จฯ ไปประมาณ ๔ โมงเย็น แล้วก็ประทับเสวยจนกระทั่งตีสองท่านก็ยังทรงพระอักษรอยู่ ทรงพระอักษรด้วยตะเกียง ผมก็เดินไปเดินมาวนไปวนมาอยู่ที่เราทำที่ประทับถวาย ท่านเหลียวมาเห็นท่านก็บอก แม่ทัพ ทำไมยังไม่นอน ผมก็เลยทูลปดไปว่า ข้าพระพุทธเจ้า ยังไม่ง่วง ที่จริงผมเป็นห่วงมากกว่า...ผมก็เลยอยู่จนกระทั่งตีห้า เพื่อถวายความปลอดภัย...”

ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กองทัพภาคที่ ๒ กองพลทหารราบที่ ๓ จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอดอนตาล ได้ร่วมกันพัฒนาฐานปฏิบัติการวรพัฒน์ให้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า “อุทยานสมเด็จย่า” พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานพิธีเปิดป้ายอุทยานสมเด็จย่าอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม๒๕๔๓


ในต้นปี ๒๕๓๐ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรภาคเหนือ ได้ทอดพระเนตรดอยตุง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่จันและอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สภาพป่าถูกทำลายอย่างรุนแรงมาก จึงมีพระราชกระแสปรารภที่จะแก้ไขสภาพพื้นที่ป่าดอยตุงโดยการปลูกป่า พร้อมทั้งมีพระราชประสงค์ที่จะร่วมงานด้วยพระองค์เอง

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้รับสนองพระกรุณาธิคุณในทันทีด้วยการจัดทำโครงการพัฒนาดอยตุง ให้บรรลุผลสำเร็จภายในปี ๒๕๓๓ เพื่อน้อมเกล้าฯถวายสมเด็จพระบรมราชชนนี ในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมายุ ๙๐ พรรษา โดยได้มอบให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน กองทัพบก เป็นหน่วยกลางประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ๖ กระทรวงหลักคือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, มหาดไทย, คมนาคม, อุตสาหกรรม, สาธารณสุข และศึกษาธิการ จัดทำแผนและโครงการเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ และกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน ๓ ปี พร้อมทั้งมอบหมายให้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นหน่วยงานประสานกับองค์กรภาคเอกชนที่จะเข้าร่วมพัฒนาดอยตุง เมื่อโครงการเริ่มขึ้น คณะทำงานต่างเห็นพ้องกันว่าสมควรจะจัดสร้างที่ประทับบนดอยตุง เพื่อจะได้ประทับพักผ่อนแทนการเสด็จแปรพระราชฐานไปยังต่างประเทศ และจะได้ทรงงานดูแลสนับสนุนการฟื้นฟูสภาพป่าในบริเวณนั้น จึงได้ร่วมกันสำรวจและเตีรยมการเลือกพื้นที่ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๓๐ สมเด็จพระบรมราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพื้นที่ที่จะสร้างพระตำหนักแห่งใหม่ ทรงพอพระทัยมาก และพระราชทานพระราชวินิจฉัยแก่สถาปนิกในเรื่องรูปแบบของพระตำหนัก อีกทั้งโปรดให้ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้าง


ในวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๓๐ สมเด็จพระบรมราชชนนีได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ ซึ่งกระทำตามแบบแผนวัฒนธรรมล้านนาอย่างสมบูรณ์ ต่อมาเมื่อการก่อสร้างดำเนินไปได้ประมาณ ๘๐% ก็ได้จัดถวายเป็นที่ประทับเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ เพื่อให้สมเด็จพระบรมรราชชนนีได้ประทับทรงงานตามพระทัยที่ได้ตั้งพระราชประสงค์ไว้ ทรงเรียกพระตำหนักนี้ว่า “บ้านที่ดอยตุง”


โครงการพัฒนาดอยตุงทำให้ยอดดอยตุงที่เคยโล้นเตียนด้วยการถางป่า ทำไร่เลื่อนลอยปลูกฝิ่น ได้กลับกลายมาเป็นดอยที่เต็มไปด้วยป่าไม้ตามเดิม ชาวไทยภูเขาได้รับการส่งเสริมอาชีพปลูกพืชเมืองหนาว อาทิ กาแฟพันธ์อาราบิกา ไม้ดอก เห็ดหลินจือ สตรอเบอรรี่ แทนการปลูกฝิ่น นอกจากนั้น มีการจัดตั้งศูนย์บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ที่บ้านผาหมี อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โครงการพัฒนาดอยตุง จึงนับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ช่วยขจัดปัญหา และสร้างความสงบสุขอย่างยั่งยืนแก่ประชาชนอย่างแท้จริง


ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ นอกจากพันตรี เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระราชทานยศ “พันโท” แล้ว ในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ปีเดียวกัน ยังได้รับคำสั่งกองทัพบกแต่งตั้งให้เป็น ผู้บังคับกองพันที่ ๕ กรมทหารม้าที่ ๒ และรักษาราชการอาจารย์แผนกวิชาทหาร กองการศึกษา โรงเรียนยานเกราะ กองพลน้อยทหารม้าอีกตำแหน่งหนึ่งนับเป็นประสบการณ์อย่างครบถ้วนในฐานะนายทหารเหล่าทหารม้า และเป็นอีกช่วงเวลาประทับใจในชีวิตราชการทหารของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์
๑ กรกฎาคม ๒๔๙๒ พันตรี เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ ๓ กองพันทหารม้าที่๔ จังหวัดอุตรดิตถ์
๑ พฤษภาคม ๒๔๙๓ พันตรี เปรม ติณสูลานนท์ เป็นรองผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ ๔
(ต่อมาแปรสภาพเป็นกองพันทหารม้าที่ ๗)
๗ กรกฎาคม ๒๔๙๓ พันตรี เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์ อีกตำแหน่งหนึ่ง
พ.ศ.๒๔๙๕ – ๒๔๙๖ พันตรี เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับคัดเลือกจากกองทัพบกให้ไปศึกษาที่โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบก สหรัฐอเมริกา ณ ฟอร์ทนอกซ์ มลรัฐเคนตั๊กกี้
๒๔ เมษายน ๒๔๙๖ พันตรี เปรม ติณสูลานนท์ เป็นอาจารย์แผนกวิชายุทธการวิธี กองการศึกษา
โรงเรียนยานเกราะ กองพลร้อยทหารม้า (กรงุเทพฯ)
๓๐ มกราคม ๒๔๙๙ พันโท เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้บังคับกองพันที่ ๕ กรมทหารม้าที่ ๒ และรักษาราชการอาจารย์ แผนกวิชาทหาร กองการศึกษา โรงเรียนยานเกราะ
๓๐ มีนาคม ๒๕๐๑ พันเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า
๒๕ ธันวาคม ๒๕๐๑ พันเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ศูนย์การทหารม้า
๑๓ มีนาคม ๒๕๐๖ พันเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
๑ ตุลาคม ๒๕๐๖ พันเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นรองผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า และรองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี
๑ ตุลาคม ๒๕๑๑ พลตรี เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี

“หยิ่งในเกียรติ และผยองในเหล่า” เป็นวาทะที่พลตรี เปรม ติณสูลานนท์ ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า สอนผู้ใต้บังคังบัญชา ให้ภาคภูมิใจในการเป็นทหารม้า ให้สำนึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของเหล่าทหารที่สร้างเกียรติประวัติคู่ประเทศมายาวนาน ที่สำคัญ พลตรี เปรม ติณสูลานนท์ ได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก้ผู้บังคับบัญชา ทั้งในเรื่องการทำงานและการวางตน จนเป็นที่เลื่องลือและจดจำกันได้แม่น อาทิ การเอาใจใส่การทำงานอย่างจริงจัง ไม่เบียดบังเวลาทำงานไปทำกิจธุระส่วนตัว มีความละเอียดรอบคอบ ตลอดจนรักษาผลประโยชน์ของทางราชการอย่างเคร่งครัด นอกจากนั้น พลตรี เปรม ยังให้ความใกล้ชิดผู้ใต้บังคับบัญชา รับฟังและช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆไม่ว่าจะเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว สมกับสรรพนาม “พ่อ” หรือ “ป๋า” ซึ่งเป็นคำตามประเพณีของเหล่าทหารม้าที่ใช้เรียก หัวหน้าเหล่า หรือ ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า


ลักษณะประจำตัวของ “ป๋าเปรม” อีกประการหนึ่งที่ผู้ใต้บังคับบัญชาชื่นชม คือ บุคลิกภาพอันสง่างามอย่างสุภาพบุรุษ และมีรสนิยมภูมิฐาน ประณีต แต่ขณะเดียวกันก็สมถะและเรียบง่าย นอกจากการพัฒนา “คน” แล้ว พลตรี เปรม ติณสูลานนท์ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน อาทิ ให้ดัดแปลงรถสายพานลำเลียงพล หรือ เอพีซ๊. จนสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อเหล่าทหารม้าและหน่วยงานต่างๆ ของกองทัพบก อีกทั้งริเริ่มโครงการ “การฝึกหน่วยทหารขนาดเล็ก (ทหารม้า) ปฏิบัติการอิสระ” มีการปรับปรุงทั้งเครื่องช่วยฝึกและการวางแผน เพื่อเตรียมความพร้อมในทันที เมื่อกองทัพต้องการใช้งาน ส่วนด้านการศึกษา ให้ปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการสอนให้ทันสมัยเหมาะสมกับเหตุการณ์ ด้านความเป็นอยู่ของกำลังพล ได้จัดสร้างอาคารกองบัญชาการศูนย์การทหารขึ้นใหม่ แทนอาคารเดิมซึ่งใช้งานมากว่า ๔๐ ปี รวมทั้งให้ซ่อมแซมอาคารที่พัก กับจัดสร้างเพิ่มเติม รวมทั้งปรับปรุงระบบไฟฟ้าและประปาภายในหน่วยงานให้มีใช้อย่างเพียงพอ กล่าวได้ว่า ช่วงเวลาที่พลตรี เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้บัญชการทหารม้า ทั้งบุคลากรและหน่วยงานได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างเห็นได้ชัด สมศักดิ์ศรีกับคำที่ว่า “หยิ่งในเกียรติ และผยองในเหล่า” และท่านยังเป็นแบบอย่างให้ทหารม้ารุ่นหลังเจริญรอยตามอย่างภาคภูมิใจ


เหล่าทหารม้า มีประเพณีอย่างหนึ่งซึ่งสืบทอดกันมาแต่อดีต คือ เปรียบหัวหน้าเหล่า หรือ ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า เป็น “พ่อม้า” เปรียบผู้ใต้บังคับบัญชา เป็น “ลูกม้า” และมักจะเรียกหัวหน้าเหล่าว่า “พ่อ” หรือ “ป๋า” ตามแต่ผู้บังคับบัญชาท่านนั้น ๆ จะเห็นชอบ หรืออาจไม่เรียกเลยก็ได้ เพราะไม่ใช่ข้อบังคับ สรรพนามแทนตัวของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่คนทั่วไปคุ้นหูว่า “ป๋าเปรม” ก็เกิดขึ้นในช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ค่านิยมของทหารม้าที่โดดเด่นคือ ความรักพวกพ้อง กล้าแสดงออก จนได้ชื่อว่าเป็นเหล่าที่มีชีวิตโลดโผนโจนทะยานมากเหล่าหนึ่ง เห็นได้จากคำขวัญต่าง ๆ ของเหล่าทหารม้าว่า “มีดีต้องโชว์” “กอดคอกันตาย” และ “สุราละโว้ย” ซึ่งในช่วงที่ “ป๋าเปรม” เป็นหัวหน้าเหล่า ได้วางตัวอย่างสง่างาม ไม่ตึงและไม่หย่อนเกินไป คือท่านร่วมกิจกรรมสังสรรค์กับผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างสม่ำเสมอ แต่มิใช่เที่ยวดื่มสุราจนเมามาย ท่านรู้จักเวลาและพอประมาณ งานสังสรรค์ของท่านจึงเน้นที่ความสนุกสนาน เป็นการกระชับความสัมพันธ์ในหมู่เหล่า และเป็นแบบอย่างให้ “ลูกม้า” ที่เคยเที่ยวดื่มแบบหยำเปปรับตัวตามอย่างเต็มใจ ผู้ใต้บังคับบัญชาเหล่าทหารม้าในขณะนั้น นอกจากจะได้ปฏิบัติตามประเพณี เรียกพลตรี เปรม ติณสูลานนท์ ว่า “ป๋าเปรม” แล้ว โดยส่วนมากยังรู้สึกประทับใจผูกพันเสมือนท่านเป็น “พ่อ” จริง ๆ อีกด้วย


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้าง เครื่องหมายแสดงพระเกียรติยศสำหรับประดับที่ฉลองพระองค์ แบบธรรมเนียมสากลตะวันตก และทรง บัญญัติศัพท์เรียกว่า “ตรา”อันมาจากคำเรียกเครื่องหมายนี้ในภาษาอังกฤษว่า “STAR”


ตราไอราพต เป็นตราดวงแรก
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น โดยนำแบบอย่างมาจากลวดลายของ พระราชลัญจกรประจำรัชกาล

นับเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้วที่ประเทศไทยมีเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบเรียกกันว่า เครื่องยศ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ เจ้านาย ขุนนาง ที่ไว้วางพระราชหฤทัยให้ปฏิบัติพระราชภารกิจต่างพระเนตรพระกรรณ เครื่องยศนี้จะเป็นสิ่งสำคัญแสดงตำแหน่งที่ลำดับยศศักดิ์ของบุคคลเหล่านั้น ได้แก่ แหวน สังวาล ลูกประคำทอง พานหมากทองคำ ดาบฝักทอง เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ผู้ได้รับพระราชทานจะแต่งและนำเครื่องยศเข้าไปใช้ในงานสำคัญ ๆ ต่อหน้าพระที่นั่งได้


ล่วงมาถึงแผ่นดินรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องหมายแสดงพระเกียรติยศสำหรับประดับฉลองพระองค์ตามแบบอย่างของประเทศตะวันตก เรียกว่า เครื่องราชอิสริยยศ หรือที่เรียกต่อมาว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทั้งได้พระราชทานให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ เจ้านาย ขุนนาง ตามลำดับยศศักดิ์เช่นเดียวกับเครื่องยศในอดีตกาล


ปัจจุบัน เครื่องราชอิสริยาภรณ์หมายความรวมถึง สิ่งที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน รวมทั้งเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ทางราชการกำหนด


เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ใช้อักษรย่อว่า นร. เป็นตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีความเป็นมาสืบแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี


ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้กำหนดศักดิ์ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ ให้อยู่รองจากเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ดังนั้น จึงเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่สามัญชนจะได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ นร. มีพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ได้ ในการพระราชทาน มีประกาศนียบัตรทรงลงพระปรมาภิไธยและประทับพระราชลัญจกรพระราชทานด้วย ปัจจุบัน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ นร. มีจำนวนทั้งหมด ๒๗ สำรับ เป็นเครื่องต้นของพระมหากษัตริย์ ๑ สำรับ และสำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ๒๖ สำรับ อนึ่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ เป็นตระกูลแรกที่ใช้เป็นเครื่องมงคลราชบรรณาการในการเจริญพระราชไมตรีกับพระมหากษัตริย์ต่างประเทศ โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างตรานพรัตนราชวราภรณ์ขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นการตอบแทนแด่พระเจ้านโปเลียนที่ ๓ แห่งฝรั่งเศส ในการที่ฝรั่งเศสส่งตราชั้นสูง “ลิจองดอนเนอร์” มาถวายเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๖ นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นร. เป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธชินราช พระพุทธรูปประธาน ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปประธาน ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร



ประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นร. ในรัชการปัจจุบัน
พระสังวาลพระนพ ทำด้วยทองคำล้วน มีดอกประจำยามประดับนพรัตน ๑ ดอก เป็นเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ สร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
พระมหาสังวาลนพรัตนราชวราภรณ์ ทำด้วยทองคำล้วน มีดอกประจำยาม ๓๖ ดอก ประดับนพรัตนดอกละชนิดสลับกันไป สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑
ดารานพรัตน และแหวนนวรัตน สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ฝ่ายหน้า


วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๖ พลตรี เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ ๒ และขึ้นเป็นแม่ทัพภาพที่ ๒ อัตราพลโท ในปีถัดมา พื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาคที่ ๒ คือ ๑๖ จังหวัดในภาคอีสาน ซึ่งขณะนั้นกำลังร้อนระอุด้วยภัยรุกรานจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) มีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือ พคท.เป็นแกนนำ ประชาชนเข้าใจว่าสังคมไทยมีชนชั้น และพวกเขาถูกเอาเปรียบ ปลุกปั่นให้ชิงชังในคนของรัฐ และระบอบการปกครองของประเทศ ทั้งสร้างความเชื่อแก่ประชาชนว่าการปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์เท่านั้นที่จะช่วยให้พวกเขาอยู่ดีกินดี และหนทางที่จะบรรลุได้ คือ ต้องต่อสู้ ต้องทำสงครามปลดแอกอำนาจรัฐ และนี่คือภาระหนักของนายทหารระดับผู้บังคับบัญชาผู้มีหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติ ซึ่งแม้จะผ่านร้อนหนาว ผ่านสมรภูมิมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็ยังมิเคยต้องรบกับคนไทยด้วยกันเอง


เมื่อรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ ๒ พลตรี เปรม ติณสูลานนท์ ได้เข้าประจำกองบัญชาการส่วนหน้าของกองทัพภาคที่ ๒ ตั้งอยู่ ณ จังหวัดสกลนคร ซึ่งจัดเป็นเขตพื้นที่สีแดง และทำให้ท่านทราบถึงความรุนแรงของสถานการณ์อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเพียงวันที่สองที่ท่านไปอยู่ (๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๖) ทหารใต้บังคับบัญชาถูกซุ่มโจมตีตายไปทีเดียว ๒๓ นาย จนโลงศพที่สกลนครแทบไม่พอใส่ เหตุการณ์นี้ทำให้ท่านเสียใจมาก และตั้งใจว่าต้องทำงานในพื้นที่นี้ต่อไป เพื่อแก้ไขปัญหาให้ได้ ขณะนั้น ยุทธวิธีที่ใช้ต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) คือวิธีปราบปรามศัตรูของชาติแบบใช้กำลัง หรือที่เรียกกันว่า “แบบทหาร” ซึ่งใช้ในสมรภูมิอื่น ๆ ได้ผลสำเร็จ แต่ครั้งนี้ สถานการณ์กลับตรงข้ามคือ “ยิ่งปราบยิ่งเพิ่ม ยิ่งตียิ่งโต” ปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ ทหารไม่ทราบว่าฝ่ายตรงข้ามเป็นใคร เพราะ ผกค. ไม่แสดงตัว และที่สำคัญ ผกค. ก็คือชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งมีจิตใจฝักใฝ่ปฏิบัติตามแนวทางของ พคท. สิ่งที่สังเกตได้คือ เวลาทหารไปเยี่ยมเยียนชาวบ้าน มักไม่ได้รับการต้อนรับ ทั้งชาวบ้านยังแสดงท่าทีรังเกียจ แต่ฝ่ายทหารก็ไม่ละความตั้งใจที่จะประสานสัมพันธ์ ทั้งที่รู้ว่ากำลังอยู่ท่ามกลางภัยอันตราย หลังจากท่านและผู้ใต้บังคับบัญชาได้ใช้ความพยายามอยู่เป็นเวลานาน ชาวบ้านจึงเริ่มวางใจ และถ่ายทอดเรื่องราวให้ทราบ ในที่สุด ท่านและนายทหารฝ่ายเสนาธการก็สามารถประมวลสาเหตุหลัก ๓ ประการที่ทำให้คนไทยไปเข้ากับฝ่ายคอมมิวนิสต์ คือ
๑. ความลำบากยากจน
๒. ความคับแค้นใจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคม
๓. การถูกกดขี่ข่มเหง
และหนทางที่จะมีชัยชนะเหนือ ผกค. ได้ คือ ต้องแก้ปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป

“มวลชนเป็นหัวใจของการทำสงครามปลดแอกของ พคท. การปลุกระดมการสร้างแนวร่วม จะนำไปสู่การจัดตั้งกองกำลังอาวุธ โดยอยู่ภายใต้การนำของพรรค ทั้ง ๓ สิ่งนี้ คือ แนวร่วม กองกำลังติดอาวุธ และพรรค ถือว่าเป็นแก้ววิเศษ ๓ ประการ ของ พคท. ในการต่อสู้เพื่อยึดอำนาจรัฐ” ข้อได้เปรียบของพคท. คือมองเห็นปัญหาและเข้าถึงจิตใจชาวบ้านได้ก่อนที่ภาครัฐจะเข้าไปช่วยเหลือ และที่สำคัญ ปัญหาบางอย่างเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลบางคนใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม กดขี่ รีดไถ เหยียดหยาม ทำให้ชาวบ้านรู้สึกเกลียดชัง และไร้ที่พึ่ง ประกอบกับวินัยที่ผู้ปฎิบัติงานของพคท. นำมาใช้คือ ปฏิบัติการทุกอย่างต้องฟังคำบัญชา ไม่เอาข้าวของประชาชน เคารพและช่วยเหลือประชาชน พูดจาสุภาพ การซื้อขายต้องเป็นธรรม ยืมของต้องคืน ทำของเสียหายต้องชดใช้ ไม่ทำให้พืชผลของประชาชนต้องเสียหาย ไม่ดื่มสุราในเวลาปฏิบัติหน้าที่ ไม่ดุด่าทุบตีผู้อื่น ไม่ลวนลามสตรี ไม่ทารุณเชลย สินสงครามต้องมอบให้ส่วนรวม ดังนั้น ไม่ว่าทางรัฐบาลจะพยายามโฆษณาชวนเชื่อถึงความเลวร้ายของคอมมิวนิสต์ ก็ยากที่ชาวบ้านจะคล้อยตาม เพราะสิ่งนี้พวกเขาประสบตรงกันข้าม เมื่อเข้าใจสถานการณ์ วิเคราะห์พบสาเหตุ แนวทางแรกที่พลโท เปรม ติณสูลานนท์ แม่ทัพภาคที่ ๒ และนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ได้คิดนำมาใช้คือ การดึงมวลชนจาก พคท. มาสู่ฝ่ายรัฐ ซึ่งรวมถึง นักรบ พคท. และ ผู้ให้การสนับสนุน พคท. ด้วย



ยุทธศาสตร์ใหม่ในการสู้รบจึงเริ่มขึ้น
ยุทธศาสตร์มวลชน “ป่าล้อมบ้าน บ้านล้อมเมือง” เป็นยุทธวิธีที่ เหมาเจ๋อตุง ผู้นำการปฏิวัติจีนใช้และได้รับชัยชนะในผืนแผ่นดินใหญ่ แนวคิดนี้หัวใจหลักคือมวลชน เพราะ “มวลชนเป็นมิตร มวลชนกำหนดยุทธศาสตร์ มวลชนกำหนดยุทธวิธี มวลชนเป็นแหล่งข่าว มวลชนเป็นคลังอาวุธและอาหาร มวลชนเป็นพลังงานในการปฏิวัติของสงครามประชาชน มวลชนเป็นผู้กำหนดแพ้กำหนดชนะ” การสู้กับคอมมิวนิสต์แบบเกลือจิ้มเกลือ ที่พลโท เปรม ติณสูลานนท์ แม่ทัพภาคที่ ๒ กับนายทหารฝ่ายเสนาธิการและคณะทำงาน อาทิ พลโท หาญ ลีลานนท์ พลตรี อาทิตย์ กำลังเอก และพันเอก เรวัต บุญทับ ได้กำหนดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็น “แผนการเมืองนำการทหาร” หรือ “ยุทธศาสตร์มวลชน” สามารถเจาะลึกเข้าสู่ประชาชนหรือมวลชน และสามารถนำมาเป็นพรรคพวกได้ ความหวังแห่งชัยชนะจึงบังเกิด เมื่อชาวบ้านในหมู่บ้านรวมตัวกันเป็น “กลุ่มราษฎรอาสาสมัครไทยอาสาป้องกันชาติ หรือ ทสปช.” ส่งผลสะท้อนอย่างใหญ่หลวงต่อการทำสงครามปฏิวัติหรือประชาชน ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือ พคท. การเข้าถึงมวลชนในหมู่บ้านได้ ย่อมเทียบเท่ากับทหารสามารถบุกเข้ายึดฐานที่มั่นของฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้

การปฏิบัติการ
ยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหาร คือปฏิบัติการรบซึ่งทหารทุกระดับในกองทัพภาคที่ ๒ เข้าใจตรงกัน จนมีศัพท์เรียกว่า “กองทัพของเราไม่ใช้ปืน แต่ใช้ปากในการทำงาน” การปฏิวัติการก็คือ สร้างสัมพันธ์กับประชาชนในพื้นที่ ด้วยท่าทีเป็นมิตร และยินดีให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้อยู่ดีกินดี รวมทั้งช่วยปกป้องชาวบ้านให้ปลอดภัยจากการถูกเจ้าหน้าที่รัฐบาลบางคนข่มเหงรังแก เป็นต้น ในระหว่างที่พลโท เปรม ติณสูลานนท์ รับราชการกองทัพภาคที่ ๒ ท่านไม่ค่อยอยู่ที่นครราชสีมา ซึ่งเป็นศูนย์กลางของงานด้านบริหารและธุรการทั่วไป โดยมอบภารกิจด้านดังกล่าวให้รองแม่ทัพดูแล ส่วนตัวท่านไปอยู่ที่ส่วนหน้า สกลนคร คลุกคลีอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการ รวมทั้ง ออกไปตามหน่วยกองกำลังร่วมพลเรือน ตำรวจ ทหาร หรือ พตท. ตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น ที่อุดรธานี เลย อุบลราชธานี สุรินทร์ จนได้รับสมญาว่า “นักรบสุภาพบุรุษ” จากการปฏิบัติงาน ที่ได้ผลของกองทัพภาคที่ ๒ แนวความคิด “การเมืองนำการทหาร” ได้เผยแพร่ไปสู่กองทัพภาคอื่น ๆ และกลายเป็นความคิดหลักของกองทัพบก กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และขยายออกไปสู่คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ๖๖/๒๓ เรื่องนโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๒๓ ซึ่งนำไปสู่การยุติการสู้รบอย่างเด็ดขาดในปี ๒๕๒๔ ความคิดการเมืองนำการทหารจึงมิเป็นเพียงคุณูปการต่อภาคอีสานเท่านั้น แต่เป็นกุญแจสำคัญที่นำสันติสุขกลับคืนสู่ผืนแผ่นดินไทย



พิธีส่งมอบหน้าที่ แม่ทัพภาคที่ ๒
ขณะที่สถานการณ์ภัยคอมมิวนิสต์ในภาคอีสานเริ่มคลี่คลาย ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๐ พลโท เปรม ติณสูลานนท์ แม่ทัพภาคที่ ๒ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกอัตราพลเอก “เมื่อไปอยู่กับชาวอีสาน พอเราเริ่มทำงานแล้ว เราเริ่มได้รับความร่วมมือ มีความเข้าใจกันแล้วเราก็มีความผูกพันกัน ดังนั้นผมจึงรักคนอีสานมาก เพราเขาเป็นคนที่ทำให้เกิดความสำเร็จ และเขาก็รู้ว่าเขาเป็นส่วนที่ทำให้เกิดความสำเร็จ ...ก็รู้สึกเสียดายว่าถ้าอยู่ต่อไปก็คงมีโอกาสได้ช่วยเหลือชาวบ้านชาวเมืองได้มากยิ่งขึ้น” พ.ศ.๒๕๒๑ เมื่อพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้บัญชาการทหารบก ได้ขอความร่วมมือจากแม่ทัพภาคทุกคน ให้ช่วยกันแก้ปัญหาภัยคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ตามแนวทางที่กองทัพภาคที่ ๒ ได้ประสบความสำเร็จมาแล้ว เพราะเมื่อเหตุการณ์ด้านอีสานเริ่มสงบ ความรุนแรงก็ไปปรากฏที่อื่น โดยเฉพาะในพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาคที่ ๔ (ภาคใต้) ซึ่งมีขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) และโจรคอมมิวนิสต์มลายู (จคม.) เคลื่อนไหวอยู่ ทุกกองทัพได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และปฏิบัติตามจนได้ผลดีมาโดยลำดับ พ.ศ. ๒๕๒๓ หลังจากมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยยังคงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกอยู่ด้วย ในวันที่ ๒๓ เมษายน ปีเดียวกัน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศใช้นโยบาย ๖๖/๒๕๒๓ อันเป็นนโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์โดยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ขณะเป็นเจ้ากรมยุทธการทหารบก เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำ นโยบาย ๖๖/๒๕๒๓ นี้ เป็นปฏิบัติการหลังจากการป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายประสบผลสำเร็จแล้ว เพื่อขยายผลการทำความเข้าใจระหว่างเจ้าหน้าที่บ้านเมืองกับผู้หลงผิดในลัทธิคอมมิวนิสต์ งานด้านนี้ได้รับการขยายผลอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่มีประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยไทยอาสาป้องกันชาติ พ.ศ.๒๕๒๑ เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๒๑ เป็นต้นมา โดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ไทยอาสาป้องกันชาติกลางได้กำหนดเรื่องหลักการฝึกอบรมและการจัดตั้ง ทสปช. เพื่อให้การปฏิบัติของศูนย์ ทสปช. ทุกระดับเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการเปิดฝึกอบรม และการฝึกทบทวน ช่วยให้งานฝึกมวลชนขยายออกทุกภาค สำหรับ โครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (โครงการ อพป.) ที่ศูนย์อาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง กอ.รมน. รับผิดชอบดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ และจะสิ้นสุดลงในปี ๒๕๒๔ นั้น รัฐสภาได้ตราเป็นพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ. ๒๕๒๒ และในระยะที่ ๒ จะได้จัดเข้าอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พ.ศ.๒๕๒๔ – ๒๕๒๗) ซึ่งกำหนดจะจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน อพป. ขึ้นในพื้นที่พัฒนาเพื่อความมั่นคงในเขต ๕๐ จังหวัด รวม ๔,๐๐๐ หมู่บ้าน ผลสำเร็จของโครงการ อพป. จะช่วยทำให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อันเป็นหนทางนำไปสู่การยุติสถานการณ์ปฎิวัติของคอมมิวนิสต์ในที่สุด กองทัพบกได้จัดโครงการทหารกองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติอย่างเป็นระบบ โดยมอบหมายให้กองทัพภาค กับจังหวัดทหารบก รับผิดชอบดำเนินการและประสานขอรับการสนับสนุนจากส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดฝึกอบรมราษฎรในแต่ละพื้นที่ เมื่อสำเร็จการฝึก ให้ดำเนินการจัดตั้ง องค์กรทหารกองหนุน เพื่อความมั่นคงของชาติ ระดับหมู่บ้านขึ้น และพิจารณาจัดตั้งในระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัดต่อไป การจัดตั้งโครงการทหารกองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาตินี้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับแนวคิดมาจากระบบการควบคุมทหารกองหนุนของต่างประเทศ โดยเฉพาะอิสราเอล ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการป้องกันประเทศแล้ว ยังเป็นพื้นฐานในการรวมพลังเพื่อพัฒนาหมู่บ้านที่สำคัญอีกด้วย ทหารพราน หรือนักรบประชาชน ถือกำเนิดเมื่อ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๑ เป็นกองกำลังของกองทัพบกและของชาติหน่วยหนึ่ง ได้มาจากราษฎรในท้องถิ่น ซึ่งสมัครใจที่จะเข้ารับการฝึกอบรมเช่นเดียวกับมวลชนประเภทอื่น จัดเป็นกำลังกึ่งทหาร เป็นหน่วยรบนอกแบบ มีทหารประจำการเป็นเจ้าหน้าที่โครงการ ดำเนินการจัดตั้งหน่วยทหารพราน และฝึกการอบรม กิจการทหารพรานในช่วงพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้บัญชาการทหารบก ได้ดำเนินไปอย่างกว้างขวาง โดยมีพลตรี ชวลิต ยงใจยุทธ (ยศในขณะนั้น) เป็นผู้รับผิดชอบ



ทหารพรานแบ่งเป็น ๓ ประเภทตามภารกิจรับผิดชอบ ดังนี้
๑.ทหารพรานปราบปราม ผกค. ประกอบด้วย ทหารพรานประจำถิ่น ทหารพรานจู่โจม
๒.ทหารพรานป้องกันประเทศ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบก อนุมัติให้จัดตั้งขึ้นเมื่อ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๒๓
๓.ทหารพรานรักษาความปลอดภัยและจัดระเบียบในศูนย์อพยพ (บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา)

การจัดตั้งหน่วยทหารพรานในสมัยแรก ๆ มีปัญหามาก เพราะเจ้าหน้าที่ดำเนินการจัดตั้งบางหน่วยเข้าใจผิด คิดว่าเป็นหน่วยที่ใช้ในปฏิบัติการรุนแรง การฆ่าฟัน จึงนำพวกไม่กลัวตาย และนักเลงหัวไม้มาฝึกอบรม นอกจากนั้น ยังมีปัญหาด้านเจ้าหน้าที่โครงการด้วย ดังนั้น เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว ผู้บัญชาการทหารบกจึงอนุมัติให้ส่งมอบหน่วยทหารพรานให้กองทัพภาคต่าง ๆ และกองกำลังป้องกันชายแดนจันทบุรี-ตราด ของกองทัพเรือ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการทหารพรานทั้งสิ้น ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ กองทัพบกได้จัดตั้ง “กรมทหารท้าที่ ๔ รักษาพระองค์” ขึ้น นับเป็นกรมทหารม้ารถถังหน่วยแรกของประเทศไทยต่อมา ในปีเดียวกัน กองทัพบกได้จัดตั้ง “กองพลทหารม้าที่ ๒” ซึ่งเป็นหน่วยทหารม้ายานเกราะ พร้อมกับให้โอนการบังคับบัญชากรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ ตลอดจนหน่วยขึ้นตรง รวมทั้งโอนกรมทหารม้า (รถถัง) ที่ ๔ รักษาพระองค์ ไปขึ้นการบังคับบัญชากองพลทหารม้าที่ ๒ โดยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “กรมทหารม้าที่ ๔” ตั้งแต่วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๒ และใน พ.ศ. ๒๕๒๓ กองทัพบกได้จัดตั้งกองพันทหารม้าที่ ๒๐ ขึ้นเป็นหน่วยในบังคับบัญชาของกรมทหารม้าที่ ๔ อีกหน่วยหนึ่ง นอกจากปฏิบัติภารกิจตามได้รับมอบหมายจากกองทัพบกแล้ว กรมทหารม้าที่ ๔ มีเกียรติประวัติได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี นอกจากนั้น ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ กองทัพบกยังได้จัดตั้ง “กรมทหารม้าที่ ๕” ซึ่งเป็นกรมทหารม้ายานเกราะกรมแรก มีกองพันยานเกราะขึ้นการบังคับบัญชา ๓ กองพัน ได้แก่ กองพันทหารม้าที่ ๒๓ กองพันทหารม้าที่ ๒๔ และกองพันทหารม้าที่ ๒๕ ส่วนกองทัพภาคที่ ๒ ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบกว้างขวาง กองทัพบกได้จัดตั้งกองพลทหารราบที่ ๖ ขึ้น เพื่อรับผิดชอบภารกิจในกองทัพภาคที่ ๒ ด้านอีสานตอนล่าง และจัดตั้ง กองบัญชาการช่วยรบที่ ๑ ทำหน้าที่จัดกำลังพลป้องกันชายแดน เพื่อเพิ่มศักยภาพกองทัพ กองทัพบกได้จัดตั้ง ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก (ศปภอ.ทบ.) ในระดับกองทัพบกและกองทัพภาค มีกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานเป็นหน่วยรับผิดชอบดำเนินการ และจัดตั้ง ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธกองทัพบก (ศอว.ทบ.) กับ สำนักงานการวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก กองทัพบก ยังคงกำหนดนโยบายเน้นการเสริมสร้างกำลังกองทัพให้เข้มแข็ง เพื่อให้สามารถเผชิญกับภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบ โดยได้มุ่งเน้นเรื่องการปกป้องอธิปไตยของชาติ และการต่อสู้เพื่อเอาชนะสงครามปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว นอกจากนั้น พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของงานด้านกิจการพลเรือนของกองทัพบก จึงดำริให้จัดตั้ง กรมกิจการพลเรือนทหารบก โดยได้รับความเห็นชอบจากกองบัญชาการทหารสูงสุด และกระทรวงกลาโหม อนุมัติให้ดำเนินการเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔ และก่อตั้งขึ้นเมื่อ ๑๓ มกราคม ๒๕๒๕

รัฐบุรุษอาวุโสของประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องนายปรีดี พนมยงค์ ไว้ในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๘ โดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ


รัฐบุรุษของประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันมีพระบรมราชโองการโปรดเกบ้าฯ ยกย่อง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ไว้ในฐานะรัฐบุรุษ เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๑ ในมีพลตรี ชาติชาย ชุณหะวัน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

องคมนตรี คือผู้มีตำแหน่งที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในครั้งแรกใช้คำเรียกว่า ปรีวีเคานท์ซิล หรือ ที่ปฤกษาในพระองค์ ซึ่งมีจำนวนมากน้อยเท่าใด ไม่มีกำหนด ตามแต่พระราชประสงค์ และอยู่ในตำแหน่งไปจนสิ้นรัชกาล หรือมีการผลัดเปลี่ยนตามแต่ทรงเห็นสมควร ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๙๐ ในรัชกาลปัจจุบัน ได้มีประกาศแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยอภิรัฐมนตรีมีหน้าที่ทั้งเป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะเดียวกัน ต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒ ได้บัญญัติถึงบทบาท และหน้าที่ขององคมนตรีไว้ดังนี้


“พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรี คนหนึ่ง และองคมนตรีอีกไม่มากกว่าแปดคน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวง ที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้” นับเป็นการวางพื้นฐานบทบาท และหน้าที่ขององคมนตรีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน


คณะองคมนตรีในปัจจุบัน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๐ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน ๑๘ คน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี (มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง) การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรี หรือการให้องคมนครีพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย (มาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง)
องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ต้องไม่ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นต้น ต้องไม่เป็นข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใดๆ (มาตรา ๑๔) ก่อนรับหน้าที่องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์



วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิธีการทางประวัติศาสตร์

เฮโรโดตัส Herodotus บิดาแห่งประวัติศาสตร์ ได้นำคำว่า ประวัติศาสตร์ history มาจากคำในภาษากรีกว่า historeo ที่แปลว่า การถักทอ มาเขียนเป็นชื่อเรื่องราวการทำสงครามระหว่างเปอร์เซียกับกรีก โดยใช้หลักฐานต่าง ๆ เป็นข้อมูล ในการเขียนเป็นเรื่องราว ซึ่งคล้ายกับการถักทอผืนผ้าให้เป็นลวดลายที่ต้องการ เฮโรโดตัส Herodotus จึงเป็น นักประวัติศาสตร์คนแรก ที่นำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มาศึกษาเพื่อเขียนเป็นเรื่องราว อย่างไรก็ตาม การศึกษาเหตุการณ์ในอดีต อาจมีผู้สงสัยว่ามีทางเป็นไปได้หรือไม่และจะศึกษากันอย่างไร เนื่องจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วและ บางเหตุการณ์เกิดขึ้นมานานมาก จนสุดวิสัยที่คนปัจจุบันจะจำเรื่องราวหรือศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง นักประวัติศาสตร์ ได้อาศัยร่องรอยในอดีตเป็นข้อมูลในการอธิบายเรื่องราวต่าง ๆที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่ว่านี้เรียกว่า หลักฐานประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์


การศึกษาประวัติศาสตร์ มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใด รวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่นำมาใช้ เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน
ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่จะเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเกิดความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด
ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีต ว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์




พัฒนาการชาติไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม



สภาพทางการเมืองในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงรูปแบบของระบบประชาธิปไตยอันเป็นระบบการปกครองที่สืบทอดมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงภายในตัวระบบอยู่ที่การปรับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศ รูปแบบของสถาบ้นกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ อย่างไรก็ตาม อำนาจอันล้นพ้นของพระมหากษัตริย์ก็มีอยู่แต่ในทางทฤษฎี เพราะในทางปฏิบัติ พระราชอำนาจของพระองค์กลับถูกจำกัดลงด้วยคติธรรมในการปกครอง ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม กับอีกประการหนึ่ง คือ การถูกแบ่งพระราชอำนาจตามการจัดระเบียบควบคุมในระบบไพร่ ซึ่งถือกันว่า พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง แต่ในทางปฏิบัติพระองค์ก็มิอาจจะควบคุมดูแลไพร่พลเป็นจำนวนมากได้ทั่วถึง จึงต้องแบ่งพระราชอำนาจในการบังคับบัญชากำลังคนให้กับมูลนายในระดับรองๆ ลงมา ในลักษณะเช่นนั้น มูลนายที่ได้รับมอบหมายให้กำกับไพร่และบริหารราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระ กรรณ จึงเป็นกลุ่มอำนาจมีอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มใดจะมีอำนาจเหนือกลุ่มใดก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมของสังคมในขณะนั้น เป็นสำคัญ
การปกครองและการบริหารประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมืองทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล ในด้านระบบการบริหาร ก็ยังคงมีอัครมหาเสนาบดี ๒ ฝ่าย คือ สมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และสมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ตำแหน่งรองลงมาคือ เสนาบดีจตุสดมภ์ แบ่งตามชื่อกรมที่มีอยู่คือ เวียง วัง คลังและ นา ในบรรดาเสนาทั้ง ๔ กรมนี้ เสนาบดีกรมคลังจะมีบทบาทและภาระหน้าที่มากที่สุด คือนอกจากจะบริหารการคลังของประเทศแล้ว ยังมีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลตะวันออก เสนาบดีทั้งหลายมีอำนาจสั่งการภายในเขตความรับผิดชอบของตน รูปแบบที่ถือปฏิบัติก็คือ ส่งคำสั่งและรับรายงานจากเมืองในสังกัดของตน ถ้ามีเรื่องร้ายที่เกิดขึ้น เสนาบดีเจ้าสังกัดจะเป็นแม่ทัพออกไปจัดการเรื่องต่างๆ ให้เรียบร้อย มีศาลของตัวเองและสิทธิในการเก็บภาษีอากรในดินแดนสังกัดของตน รวมทั้งดูแลการลักเลขทะเบียนกำลังคนในสังกัดด้วย


การบริหารในระดับต่ำลงมา อาศัยรูปแบบการปกครองคนในระบบไพร่ คือ แบ่งฝ่ายงานออกเป็นกรมกองต่างๆ แต่ละกรมกอง มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการควบคุมกำลังคนในสังกัดของตน โครงสร้างของแต่ละกรม ประกอบด้วยขุนนางข้าราชการอย่างน้อย ๓ ตำแหน่ง คือ เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี กรมมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก กรมใหญ่มักเป็นกรมสำคัญ เจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์ถึงขนาดเจ้าพระยาหรือพระยา


กรมของเจ้านายที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ กรมของพระมหาอุปราช ซึ่งเรียกกันว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมของพระองค์มีไพร่พลขึ้นสังกัดมาก กรมของเจ้านายมิได้ทำหน้าที่บริหารราชการโดยตรง ถือเป็นกรมที่ควบคุมกำลังคนเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น การแต่งตั้งเจ้านายขึ้นทรงกรมจึงเป็นการให้ทั้งความสำคัญ เกียรติยศ และความมั่นคงเพราะไพร่พลในครอบครองเป็นเครื่องหมายแสดงถึงอำนาจและความ มั่งคั่งของมูลนายผู้เป็นเจ้าของการบริหารราชการส่วนกลาง มีพระมหากษัตริย์เป็นมูลนายระดับสูงสุด เจ้านายกับขุนนางข้าราชการผู้บังคับบัญชากรมต่างๆ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ฐานะเป็นมูลนายในระดับสูง ช่วยบริหารราชการ โดยมีนายหมวด นายกอง เป็นมูลนายระดับล่างอยู่ใต้บังคับบัญชา และทำหน้าที่ควบคุมไพร่อีกต่อหนึ่ง การสั่งราชการจะผ่านลำดับชั้นของมูลนายลงมาจนถึงไพร่


สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง ขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดี ๒ ท่าน และเสนาบดีคลัง ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น หัวเมืองแบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎร


หัวเมืองชั้นใน เป็นหน่วยปกครองที่อยู่ใกล้เมืองหลวง มีเจ้าเมืองหรือผู้รั้ง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าปกครองดูแล

หัวเมืองชั้นนอก มีทั้งหัวเมืองใหญ่ หัวเมืองรอง และหัวเมืองชายแดน หัวเมืองเหล่านี้ อยู่ใต้การปกครองของเจ้าเมือง และข้าราชการในเมืองนั้นๆ

นโยบายที่ใช้ในการปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น กล่าวคือ รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงออกพระราชกำหนดตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ต้องรายงานตัวต่อผู้ตั้งทุกปี ทั้งนี้เพื่อผลในการควบคุมไพร่พลและเกณฑ์ไพร่มาใช้ เพราะฉะนั้น มูลนายในเมืองหลวงจึงได้ควบคุมสัสดีต่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด


ส่วนการปกครองในประเทศราช เช่น ลาว เขมร มลายู นั้น ไทยใช้วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น โดยการนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรมของพระ มหากษัตริย์ในราชสำนักไทยหรือสนับสนุนให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้ง สองฝ่าย และภายหลังก็ส่งเจ้านายพระองค์นั้นไปปกครองเมืองประเทศราช ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันกันขึ้นระหว่างกษัตริย์ไทยกับเจ้านายเมืองขึ้น การปกครอง หรือการขยายอำนาจอิทธิพลในอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้ ฝ่ายไทยและประเทศราชไม่มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขึ้นกับอำนาจความมั่นคงของราชอาณาจักรไทย เพราะฉะนั้น ในช่วงใดที่ประเทศอ่อนแอ เมืองขึ้นก็อาจแข็งเมืองหรือหันไปหาแหล่งอำนาจใหม่ เพราะฉะนั้น เมื่ออำนาจตะวันออกแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนเอเซียอาคเนย์ ปัญหาเรื่องอิทธิพลในเขตแดนต่างๆ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเวลาทำความตกลงกัน


ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป การปฏิรูปเศรษฐกิจ ก็ได้แก่ การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร ส่วนการปฏิรูปสังคมก็ได้แก่ การเลิกทาส การปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งการปรับปรุงการสื่อสาร และการคมนาคม เป็นต้น


สำหรับมูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ ๒ ประการ คือ


๑.มูลเหตุภายใน ทรง พิจารณาเห็นว่าการปกครองแบบเดิมไม่เหมาะสมกับสภาพทางการปกครองและทางสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น การคมนมคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง ขาดประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนาได้ยาก


๒.มูลเหตุภายนอก ทรง พิจารณาเห็นว่า หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้น แต่เดิมเราต้องยินยอมให้ประเทศตะวันตกหลายประเทศมีสิทธิภาพนอกอาณาเขตคือ สามารถตั้งศาลกงสุลขึ้นมาพิจารณาความคนในบังคับของตนได้ โดยไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับของศาลไทย เพราะอ้างว่า ศาลไทยล้าสมัย

*********************************************

พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ

สภาพทางเศรษฐกิจสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงยึดแบบแผนที่ปฏิบัติมา ตั้งแต่สมัยอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรีเป็นหลัก ซึ่งพอจะประมวลองค์ประกอบทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้ 3 ประการคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้า ที่มาของรายได้แผ่นดินและรายได้ประชาชาติ ระบบเงินตรา

1. หน่วยงานที่เกี่ยวกับการค้าและเศรษฐกิจ

1.1 พระคลังสินค้า เป็นหน่วยงานที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวกับการค้าขาย ทำหน้าที่ควบคุมสินค้าขาเข้าและขาออก ตลอดจนการเลือกซื้อสินค้าที่ทางราชการต้องการ หรือสินค้าผูกขาด (สินค้าที่ทางราชการต้องการและคิดว่ามีอันตรายหากพ่อค้าจะทำการซื้อขายกัน โดยตรง) ได้แก่ อาวุธ กระสุนปืน และควบคุมกำหนดสินค้าต้องห้าม (คือสินค้าที่หายากและมีราคาแพง ราษฎรต้องนำมาขายให้แก่ทางราชการ) ได้แก่ งาช้าง รังนก ฝาง กฤษณา พระคลังสินค้าเป็นหน่วยงานการค้าแบบผูกขาด จึงได้ผลกำไรมาก แต่เมื่อไทยมีการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะชาวตะวันตก พ่อค้าเหล่านั้นไม่ได้รับความสะดวกภายหลังหน่วยงานนี้ถูกยกเลิกไปภายหลังการ ทำสนธิสัญญาเบาว์ริง

1.2 กรมท่า เป็นกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับพ่อค้าต่างชาติ เพราะกรมนี้มีหน้าที่ปกครองหัวเมืองชายทะเล จึงเป็นกรมที่กว้างขวางและคุ้นเคยกับชาวต่างชาติ ปัจจุบันกรมนี้คือกระทรวงการต่างประเทศ

1.3 เจ้าภาษีนายอากร ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บภาษีใหม่ คือรัฐบาลจะเรียกเก็บภาษีอากรเฉพาะที่สำคัญๆ เท่านั้น ส่วนที่เหลือก็จะประมูลให้เอกชนรับเหมาผูกขาดในการดำเนินการเรียกเก็บจาก ราษฎร ผู้ที่ประมูลได้เรียกว่า "เจ้าภาษีหรือนายอากร" ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนเกือบทั้งหมดตามหัวเมือง ราษฎรจะเรียกว่า กรมการจีน

ระบบเจ้าเจ้าภาษีนายอากรนี้มีทั้งผลดีและผลเสียต่อชาติดังนี้

ผลดี ช่วยประหยัดในการลงทุนดำเนินการ ทำให้ท้องพระคลังมีจำนวนภาษีที่แน่นอนไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการเรียกเก็บ

ผลเสีย เจ้าภาษีนายอากรบางคนคิดหากำไรในทางมิชอบ มีการรั่วไหลมักใช้อำนาจข่มขู่ราษฎรเรียกเก็บเงินตามพิกัด

2. ที่มาของรายได้แผ่นดินและรายได้ประชาชาติ

2.1 การเกษตร มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของชาวไทยตลอดเวลา มีกรมนารับผิดชอบ รายได้ของแผ่นดินส่วนใหญ่รับจากภาษีอากรด้านการเกษตร เช่น อากรค่านา อากรสมพัตสร (เก็บจากไม้ล้มลุกแต่ไม่ใช่ข้าว) และมีการเดินสวน เดินนา

2.2 การค้าขาย การค้าจะทำโดยพระคลังสินค้าและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ สินค้าที่มีการซื้อขายระหว่างพระคลังกับพ่อค้ามี 2 ประเภทคือ สินค้าผูกขาดกับสินค้าต้องห้าม และได้มีการส่งเรือสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นของทางราชการ เช่นค้าขายกับจีน อินเดียและพวกอาหรับ ในสมัยรัชกาลที่ 2 การค้ากับต่างประเทศขยายตัวมากขึ้น เพราะพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3 ต่อมา) ทรงเป็นหัวแรงสำคัญจนได้รับสมญาว่า "เจ้าสัว" และมีการค้าขายกับทางตะวันตก เช่น โปรตุเกส อังกฤษ อเมริกา ฮอลันดา สมัยรัชกาลที่ 3 การค้าขายสะดวกรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลจากการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษ

2.3 ภาษีอากร ภาษีอากรที่เรียกเก็บ มี 4 ประเภทคือ

- จังกอบ คือ ค่าผ่านด่านที่เก็บจากเรือ เกวียน หรือเครื่องบรรทุกอื่นที่ผ่านด่าน

- อากร คือ ภาษีที่เก็บจากราษฎรซึ่งประกอบอาชีพที่มิใช่การค้า ซึ่งปกติจะเรียกอากรตามอาชีพที่ทำ เช่น อากรค่านา อากรสุรา

- ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากค่าบริการที่ทางราชการทำให้แก่ราษฎร เช่น ออกโฉนด ค่าธรรมเนียมศาล

- ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่หลวงผู้ที่ไม่ต้องเข้าเวรส่งมอบแทนการเข้าประจำการ

3. ระบบเงินตรา

- เงินพดด้วง (รูปสัณฐานกลมเป็นก้อนแต่ตีปลาย 2 ข้างงอเข้าหากัน)

- เงินปลีกย่อย ใช้เบี้ยและหอยเหมือนสุโขทัยและอยุธยา

************************************



พัฒนาการด้านสังคม

สภาพสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนใหญ่มีลักษณะโครงสร้างไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาและธนบุรี

องค์ประกอบของสังคมไทยประกอบด้วยสถาบันต่างๆ ได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ และทาส

1. พระมหากษัตริย์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเป็นทั้งเทวราชาและธรรมราชา

พระมหากษัตริย์ในฐานะองค์สมมติเทพ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นสมมติเทพตามติของศาสนาพราหมณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์สะท้อนให้เห็นถึงความเป็น สมมติเทพ เช่น การสร้างที่ประทับ พระที่นั่งพระราชวัง การประกอบพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์ เป็นต้น
พระมหากษัตริย์ในฐานะธรรมราชา ตามคติธรรมราชานั้นถือว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม 10 ประการ และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ
อย่างไรก็ตาม โดยขัตติยราชประเพณีแล้วพระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะประดุจดังสมมติเทพ โดยคติความเชื่อ แต่ในทางปฏิบัติ พระองค์ทรงเป็นธรรมราชา ทำให้ฐานะของพระมหากษัตริย์ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะของความเป็นผู้ นำทางการเมืองที่เหมือนคนธรรมดามากขึ้น แต่พระองค์ก็ยังทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดเป็นเจ้าชีวิตของปวงชน เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นจอมทัพ เป็นต้น และพระบรมราชโองการของพระองค์ ผู้ใดจะฝ่าฝืนไม่ได้ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษอย่างหนัก

2. พระบรมวงศานุวงศ์

สกุลยศและอิสริยยศของพระบรมวงศานุวงศ์ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายส่วนใหญ่ก็อยู่ในฐานะอันสูงส่ง ทั้งนี้เพราะเป็นพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สกุลยศกับอิสริยศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สกุลยศมีอยู่ 3 ตำแหน่ง คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ส่วน อิสรยศ คือ พระยศที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้น อิสริยยศที่สำคัญที่สุดและสูงที่สุด ได้แก่ พระมหาอุปราช นอกจากนี้การได้รับตำแหน่งทรงกรมก็คือเป็นอิสริยยศด้วยเหมือนกัน ได้แก่ กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จ การถือศักดินาของพระบรมวงศานุวงศ์ แตกต่างกันไปตามลำดับ ถ้าเป็นเจ้าฟ้าจะมีศักดินาสูงสุด หม่อมราชวงศ์จะมีศักดินาต่ำสุด แต่ถ้าทรงกรมก็มีศักดินาสูงกว่าเจ้านายในระดับเดียวกัน แต่มิได้ทรงกรม เช่น เจ้าฟ้าที่เป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชาของพระมหากษัตริย์ถ้าไม่ได้ทรงกรมจะถือ ศักดินา 20,000 ไร่ ถ้าทรงกรมจะถือศักดินาถึง 50,000 ไร่ตามลำดับ
สิทธิตามกฏหมายของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีสิทธิอยู่ 2 ประการ คือ จะพิจารณาคดีของพระบรมวงศานุวงศ์ในศาลใดๆ ไม่ได้นอกจากศาลของกรมวัง และ จะนำพระบรมวงศานุวงศ์ไปขายเป็นทาสไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่จะไม่ยอมให้กระทำสัญญาซื้อขายเช่นนั้นได้อย่างถูกต้องตาม กฏหมาย

3. ขุนนาง

คือ บุคคลที่รับราชการแผ่นดิน มีศักดินา ยศ ราชทินนาม และตำแหน่ง เป็นเครื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ ขุนนางเปรียบเหมือนข้าราชการของแผ่นดิน แต่ข้าราชการแผ่นดินบางคนจะไม่ได้มีฐานะเป็นขุนนางก็ได้ เพราะการเป็นขุนนางต้องขึ้นอยู่กับศักดินาของตนด้วย ผู้มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปถึงได้เป็นขุนนาง ยกเว้นพวกมหาดเล็กเพราะถือว่าพวกนี้เป็นขุนนางอยู่แล้ว

การลำดับยศของขุนนาง ยศของขุนนางมี 7 ลำดับ จากสูงสุดไปต่ำสุดดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระ หลวง ขุน หมื่น และ พัน ศักดินาของสมเด็จเจ้าพระยาอยู่ในระดับ 30,000 ไร่ นับว่าสูงสุดในบรรดาขุนนางทั้งหลาย ส่วนพันถือศักดินา 100-400 ไร่ หมื่นถือศักดินา 200-800 ไร่ ขุนถือศักดินา 200-1,000 ไร่ สำหรับขุนนางที่มียศเป็นหลวงขึ้นไป มีศักดินาไม่ต่ำกว่า 800 ไร่ขึ้นไป แสดงว่าผู้เป็นพัน หมื่น ขุนอาจมีสิทธิไม่ได้เป็นขุนนางก็ได้ ถ้าศักดินาของตนเองไม่ถึง 400 ไร่ และอาจมีสิทธิเป็นขุนนางได้ถ้ามีศักดินาถึง 400 ไร่ขึ้นไป
สิทธิตามกฏหมายของพวกขุนนาง เช่น ได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงานไปใช้ โดยการยกเว้นนี้ต่อเนื่องไปถึงบุตรของขุนนางด้วย แต่ถ้าผู้ใดเป็นข้าราชการมีศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ก็จะได้รับเอกสารยกเว้นการเกณฑ์แรงงานเป็นรายบุคคล แต่เอกสารนี้มิได้คลุมไปถึงลูกของข้าราชการเหล่านั้น สำหรับผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป จะได้รับสิทธิเข้าเฝ้าในการเสด็จออกขุนนาง และได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นขึ้นศาลแทนตนได้ เป็นต้น

4. ไพร่

ฐานันดรไพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีสภาพไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยา ไพร่ถูกมูลนายเอาชื่อเข้าบัญชีไว้ เพื่อเกณฑ์แรงงานไปใช้ในราชการต่างๆ ด้วยเหตุนี้ไพร่จึงต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครอยู่ด้วยและถ้า เจ้าขุนมูลนายของตนสังกัดอยู่กรมกองใด ไพร่ผู้นั้นก็ต้องสังกัดในกรมกองนั้นตามเจ้านายด้วย

ไพร่อาจแบ่งประเภทตามสังกัดได้เป็น 2 ประเภท คือ ไพร่หลวงและไพร่สม ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้

ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่พระราชทานแก่กรมกองต่างๆ เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง หน้าที่ของไพร่หลวงจึงแตกต่างกันไปตามหน้าที่ที่ระบุไว้ของแต่ละกรมกอง ดังนั้นไพร่หลวง จึงอยู่ในกรม 2 ประเภท คือ
ไพร่หลวงที่ต้องมารับราชการตามที่ทางราชการกำหนดไว้ หากมาไม่ได้ต้องให้ผู้อื่นมาแทนหรือส่งเงินแทนการรับราชการ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯให้ไพร่หลวงเปลี่ยนเป็นอยู่เวรรับราชการปีละ 4 เดือน คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 2 เดือน ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงลดเวลารับราชการของไพร่หลวงลงอีกจาก 4 เดือน เป็น 3 เดือนต่อปี คือเข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 3 เดือน
ไพร่หลวงที่ต้องเสียเงิน แต่ไม่ต้องมารับราชการ ซึ่งเรียกว่า ไพร่หลวงส่วย
ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านายและขุนนางที่มีตำแหน่งทำราชการเพื่อเป็นผลประโยชน์ เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีเงินเดือน การควบคุมไพร่ของมูลนายจึงหมายถึงการได้รับผลประโยชน์ตอบแทน เช่น ได้รับส่วนลดจาการเก็บเงินค่าราชการ หรือได้รับของกำนัลจากไพร่ เป็นต้น
ไพร่สมนั้นจะตกเป็นของมูลนายตราบเท่าที่ขุนนางผู้เป็นมูลนายยังมีชีวิตอยู่ ในตำแหน่งราชการ เมื่อมูลนายถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง นอกจากบุตรของขุนนางผู้นั้นจะยื่นคำร้องขอควบคุมไพร่สมต่อจากบิดา

ไพร่สามารถเปลี่ยนแปลงฐานะของตนเองได้ใน 2 กรณี คือ ถ้าทำความดีความชอบอย่างสูงต่อแผ่นดิน อาจได้รับเลื่อนฐานะเป็นขุนนางได้ แต่ถ้ามีความผิดหรือเป็นหนี้สินต่อนายเงิน ก็จะต้องตกเป็นทาสได้เช่นกัน

ในเรื่องความเป็นอยู่ของไพร่นั้น ไพร่หลวงจะมีฐานะลำบากที่สุด ส่วนไพร่ส่วยสบายที่สุด เพราะในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์แรงงานเพื่อเข้ารับราชการ ทั้งในยามสงครามและยามสงบปีละ 3 เดือน ส่วนไพร่สมก็มีหน้าที่รับใช้มูลนายเป็นส่วนใหญ่ ไพร่สมจึงทำงานเบากว่าไพร่หลวง

5. ทาส

หมาย ถึง บุคคลที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่กลับตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส นายมีสิทธิ์ในการซื้อขายทาสได้ ลงโทษทุบตีทาสได้ แต่จะให้ถึงตายไม่ได้ ทาสมีศักดินาเพียง 5 ไร่เท่านั้น

การแบ่งประเภทของทาส ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทาสคงมีอยู่ 7 ประเภทเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ได้แก่ ทาส ไถ่มาด้วยทรัพย์,ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย,ทาสที่ได้มาข้างฝ่ายบิดามารดา, ทาสมีผู้ให้,ทาสอันได้ช่วยกังวลธุระทุกข์ด้วยคนต้องโทษทัณฑ์,ทาสที่เลี้ยง เอาไว้ในเวลาข้าวยากหมากแพง,และทาสเชลย ทาสเหล่านี้อาจไม่ยอมขอทานเพราะถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย จึงยอมขายตัวลงเป็นทาส
การหลุดพ้นจากความเป็นทาส ทาสมีโอกาสได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความเป็นทาส ในกรณีต่อไปนี้
- ถ้านายเงินอนุญาตให้ทาสบวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรหรือนางชี ก็ถือว่าหลุดพ้นจากความเป็นทาส แม้ภายหลังจะลาสิกขาบทแล้ว ก็จะเอาคืนมาเป็นทาสของตนไม่ได้
- ในกรณีนายเงินใช้ทาสไปทำสงครามและทาสถูกจับเป็นเชลย ต่อมาหนีรอดมาได้ก็หลุดพ้นจากความเป็นทาส
ถ้าทาสฟ้องนายว่าเป็นกบฏและสวบสวนได้ว่าเป็นจริง ให้ทาสนั้นพ้นจากความเป็นทาสได้
- นายเงิน พ่อของนายเงิน หรือพี่น้องลูกหลานของนายเงิน ได้ทาสเป็นภรรยา ให้ทาสนั้นเป็นไท และลูกที่เกิดมานั้นเป็นไทด้วย
ถ้าทาสนั้นตายด้วยการทำธุรกิจใดๆ ให้แก่นายเงิน นายเงินจะเรียกเอาเงินคืนจากผู้ขายไม่ได้ แต่ถ้าตายด้วยเหตุอื่นนายเงินจะเรียกเอาเงินคืนจากผู้ขายได้บ้าง
เป็นอิสระด้วยการไถ่ตัว อาจจะเป็นผู้ขอไถ่ตัวเอง หรือมีบุคคลใดก็ได้มาไถ่ให้เป็นอิสระ
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายหลังจากการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ทาสจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกทาสได้เพิ่มจำนวนมาก และคาดว่าผู้ที่เป็นทาสนั้นมีจำนวนถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่ยอมเป็นทาสเพราะปัญหาซึ่งมีหนี้สินเป็นจำนวนมากที่สุด ทั้งนี้เพราะพวกชาวบ้านเป็นจำนวนมากที่ต้องเป็นหนี้สินเนื่องจากเก็บเกี่ยว ไม่ได้ผล แต่ก็มีอีกเป็นจำนวนมากที่ยอมขายตัวเพื่อจะได้ไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปทำงาน


นอกจากนี้สถาบันสงฆ์ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมไทย ซึ่งพระมหากษัตริย์ ขุนนาง ไพร่ ทาส อาจเปลี่ยนสถานภาพจากฆราวาสมาเป็นพระภิกษุในสถาบันสงฆ์ได้ และผู้เป็นพระสงฆ์จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเกณฑ์แรงงาน

พระสงฆ์จะเป็นผู้ได้รับความเคารพนับถือจาก คนไทยทุกระดับชั้น ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ลงมาจนถึงไพร่และทาส แต่ในบางครั้งเมื่อสถาบันพระสงฆ์เสื่อมโทรมด้วยข้อวัตรปฏิบัติ พระมหากษัตริย์จะทรงเอาเป็นพระธุระเพื่อปรับปรุงแก้ไข และทำการปฏิรูปคณะสงฆ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยยิ่งขึ้น ดังเช่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงออกกฏหมายพระสงฆ์เพื่อควบคุมให้พระสงฆ์มีความบริสุทธิ์ เป็นต้น

สำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาพำนักอาศัยอยู่ใน ราชอาณาจักรมีอยู่ด้วยกันหลายพวก เป็นต้นว่า มอญ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน บางพวกก็หนีร้อนมาพึ่งเย็น บางพวกก็ถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลย ไม่ได้มีโอกาสกลับบ้านเมืองของตนเอง แต่ในบรรดาคนต่างด้าวที่เข้ามาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรและมีผลกระทบอย่าง สำคัญต่อสังคมและเศรษฐกิจของไทยในสมัยนี้คือพวกคนจีน

************************************

พัฒนาการด้านศิลปวัฒนธรรม

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นับว่าเป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาให้กลับมาเจริญ รุ่งเรืองขึ้นใหม่ นอกจากนี้ก็มีการปรับปรุงเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ให้วัฒนธรรมไทยในยุคนี้ด้วย นับได้ว่าเป็นการธำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่อยุธยาให้กลับเจริญ รุ่งเรือง หลังจากประสบกับวิกฤตการณ์สงครามสู้รบระหว่างไทยกับพม่ามาแล้ว

สภาพทางสังคมของไทยตั้งแต่อดีต ได้ผูกพันกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมจึงมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเจริญ รุ่งเรืองทางศาสนาด้วย ศิลปกรรมและวรรณกรรมต่างๆ ที่บรรจงสร้างด้วยความประณีตก็เกิดจากแรงศรัทธาทางศาสนาทั้งสิ้น

1.การทำนุบำรุงทางด้านพระพุทธศาสนา

ในสมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ.2325-2352) พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฏกที่วัดมหาธาตุยุวราชรัง สฤษดิ์ ใน พ.ศ.2331 โดยใช้เวลาประชุมกันประมาณ 5 เดือน
ในสมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ.2352-2367) พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชกุศลอย่างใหญ่โตในวันวิสาขบูชา เหมือนดังที่เคยทำกันในสมัยอยุธยา คือ ทำบุญกันทั่วไปเป็นเวลา 3 วัน สัตว์ที่เคยถูกฆ่าเป็นอาหารนั้นโปรดให้ปล่อยให้หมดภายใน 3 วัน มิให้มีการฆ่าสัตว์โดยเด็ดขาด
ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก พระองค์ทรงทำนุบำรุงคณะสงฆ์ ตลอดจนทรงสร้างและปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปและวัดวาอารามมากมาย ในสมัยนี้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ได้มีโอกาสเผยแผ่ ในประเทศไทยโดยพวกมิชชันนารี ทำให้คนไทยบางส่วนหันไปนับถือศาสนาคริสต์ ขณะเดียวกันในวงการพระพุทธศาสนาของไทยก็มีการเคลื่อนไหวที่จะปฏิรูปข้อ วัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ไทยให้สอดคล้องกับคำสอนในพระไตรปิฏก โดยเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งทรงผนวชมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และได้เสด็จมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ.2370-2394) ทรงเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการปฏิรูปครั้งนั้น จนกระทั่งได้ทรงตั้งนิกายใหม่ เรียกว่า "ธรรมยุติกนิกาย"

2. การทำนุบำรุงศิลปกรรม


การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 ในบรรดาศิลปกรรมของไทยซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงให้ความสนพระทัยมากนั้น ได้แก่ บรรดาตึกรามต่างๆ ที่สร้างขึ้น ล้วนมีการตกแต่งลวดลายอย่างงดงามทั้งภายในและภายนอก ทั้งโดยปูนและโดยไม้แกะสลัก ตึกที่ทรงให้จัดสร้างขึ้นส่วนมากเป็นวัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีพระที่นั่งต่างๆ เช่น พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย, พระที่นั่งไพศาลทักษิณ, พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน, พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นต้น
รัชกาลที่ 1 ทรงสนพระทัยทางด้านวรรณคดี ดังนั้นในสมัยนี้จึงมีบทวรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ นอกจากนี้ก็มีการแปลวรรณกรรมต่างชาติมาเป็นภาษาไทย เช่น หนังสือสามก๊ก ,ราชาธิราช เป็นต้น

การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงสนพระทัยในเรื่องการก่อสร้างและตกแต่งตึกรามต่างๆ พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้าง "สวนขวา" ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ทรงริเริ่มสร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม (แต่สร้างสำเร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 3) พระปรางค์จะตกแต่งด้วยถ้วยและชามจีนซึ่งทุบให้แตกบ้าง แล้วติดกับฝาทำเป็นลวดลายรูปต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านการแกะสลัก ดังจะเห็นได้จากประตูวัดพระเชตพนวิมลมังคลาราม ประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นต้น
รัชกาลที่ 2 โปรดการฟ้อนรำอย่างโบราณของไทยเป็นอันมาก ทั้งโขนและละคร ทรงปรับปรุงจังหวะและท่ารำต่างๆ โดยพระองค์เอง พระองค์โปรดให้มีพระราชนิพนธ์บทละครขึ้นใหม่ ทั้งที่เป็นเรื่องเดิมและเรื่องใหม่ หรือเอาเรื่องเดิมมาแต่งขึ้นใหม่ บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มีทั้งหมด 7 เรื่อง เรื่อง"อิเหนา" เป็นเรื่องที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เองตลอดทั้งเรื่อง ส่วนอีก 6 เรื่อง โปรดเกล้าฯ ให้กวีท่านอื่นๆ ร่วมงานด้วย




การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3 การผลิตงานทางด้านศิลปะในสมัยรัชกาลที่ 3 จัดว่ามีลักษณะเยี่ยมยอดในวงการศิลปะของไทยไม่แพ้ในสมัยอื่น ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงมุ่งซ่อมแซมและปรับปรุงปราสาทมากกว่าจะสร้างใหม่ โดยระมัดระวังรักษาแบบดั้งเดิมเอาไว้ พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์และขยายเขตวัดวาอารามมากมาย ทรงสร้างวัดด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ขึ้น 5 วัด ให้เชื้อพระวงศ์และขุนนางสร้างอีก 6 วัด วัดสำคัญที่สร้างในสมัยนี้ได้แก่ วัดเทพธิดาราม,วัดราชนัดดา,วัดเฉลิมพระเกียรติ์,วัดบวรนิเวศวรวิหาร,วัดบวร สถาน,วัดประยูรวงศ์,วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น สิ่งก่อสร้างมากมายที่เป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมทางศาสนาของไทย เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระสถูป พระมลฑป หอระฆัง เป็นต้น โบสถ์และวิหารที่สร้างขึ้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคาลาดเป็นชั้น มุงกระเบี้องสี ผนังก่ออิฐถือปูนประดับลวดลาย และมีเสาใหญ่รายรอบรับชายคา โบสถ์ขนาดใหญ่และสวยงามที่สร้างในรัชกาลนี้คือ โบสถ์วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งสร้างแบบสามัญ ส่วนโบสถ์วัดบวรนิเวศวรวิหารสร้างเป็นแบบมีมุขยื่นออกมาทั้งสองข้างทางด้าน ปลาย
สถาปัตยกรรมแบบไทยอย่างอื่นๆ ที่มีความสำคัญรองลงมา คือ พระมณฑป ศาลา หอระฆัง และระเบียงโบสถ์ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 และเป็นงานที่ดีที่สุด คือ ระเบียงรอบพระวิหารที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งมีหน้าบันแกะสลักไว้อย่างงดงาม

ผลงานทางสถาปัตยกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ได้ก่อสร้างไว้ บริเวณวัด และจัดอยู่ในจำพวกสิ่งก่อสร้างปลีกย่อยคือ เรือสำเภาซึ่งก่อด้วยอิฐ รัชกาลที่ 3 ทรงมีรับสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อว่าในอนาคตเมื่อไม่มีการสร้างเรือสำเภากันอีก แล้ว ประชาชนจะได้แลเห็นว่าเรือสำเภานั้นมีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร วัดที่พระองค์ทรงรับสั่งให้สร้างสิ่งอันเป็นประวัติศาสตร์นี้ คือ "วัดยานนาวา"


ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภาพเขียนแบบไทยต่างๆ ส่วนมากไม่โดดเด่น ที่เขียนขี้นมาส่วนใหญ่เพื่อความมุ่งหมายในการประดับให้สวยงามเท่านั้น ส่วนงานช่างแกะสลักในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางพระพุทธศาสนามากกว่างานช่างในสาขาจิตรกรรม โดยเฉพาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเครื่องบันดาลใจอันสำคัญยิ่งที่ก่อให้เกิดผลงานทางด้านศิลปะประเภทนี้

ทางด้านวรรณกรรม รัชกาลที่ 3 ทรงสนับสนุนวรรณคดีทางศาสนาและประวัติศาสตร์ ดังเช่น หนังสือเรื่อง "มลินทปัญญา" เป็นต้น แต่ในสมัยนี้ไม่สนับสนุนให้มีการแสดงละครภายในพระบรมมหาราชวัง ทั้งยังไม่โปรดปรานนักแสดงหรือนักประพันธ์คนใดเลย

กล่าวโดยสรุป ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การทำนุบำรุงและฟื้นฟูทางด้านศิลปวัฒนธรรมได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และการทำนุบำรุงก็กระทำโดยวิธีรักษารูปแบบเดิมไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ผสมผสานเข้าไปด้วย ทำให้ศิลปวัฒนธรรมของไทยในยุคนี้เจริญรุ่งเรืองมาก

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4-5-6-7 ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

หัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ไทยตอนนี้ อยู่ที่การทำ สนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชการที่ 4 ที่มาและสาระสำคัญของการทำสนธิสัญญาเบาริง มีดังนี้

1. ในสมัยรัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงนโยบาย ต่างประเทศ มาเป็นการคบค้ากับชาวตะวันตก เพื่อความอยู่รอดของชาติ เนื่องจากทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งกำลังคุกคามประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนั้น

2. จุดเริ่ิมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ คือ การทำสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2398 โดยพระนางเจ้าวิกตอเรีย ได้แต่งตั้งให้ เซอร์ จอห์น เบาริง เป็นราชทูตเข้ามาเจรจา

3. สาระสำคัญของสนธิสัญเบาริง มีดังนี้
o อังกฤษขอตั้งสถานกงสุลในประเทศไทย
o คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินในประเทศไทยได้
o คนอังกฤษสามารถสร้างวัด และเผยแพร่คริสต์ศาสนาได้
o เก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3
o พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าไทยมีสิทธิค้าขายกันได้โดยเสรี
o สินค้าต้องห้าม ได้แก่่ ข้าว ปลา เกลือ
o ถ้าไทยทำสนธิสัญญากับประเทศอื่น ๆ ที่มีผลประโยชน์เหนือประเทศ อังกฤษ จะต้องทำให้อังกฤษด้วย
o สนธิสัญญานี้ จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จนกว่าจะใช้แล้ว 10 ปี และในการแก้ไข ต้องยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย และ ต้องบอกล่วงหน้า 1 ปี

4. ผลของสนธิสัญญาเบาริง
o ผลดี
1. รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
2. การค้าขยายตัวมากขึ้น เปลี่ยนแปลงการค้าเป็นแบบเสรี
3. อารยธรรมตะวันตก เข้ามาแพร่หลาย สามารถนำมาปรับปรุงบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้ามาขึ้น
o ผลเสีย
1. ไทยเสียสิทธิทางการศาลให้อังกฤษ และคนในบังคับอังกฤษ
2. อังกฤษ เป็นชาติที่ได้รับสิทธิพิเศษหลายอย่าง
3. อังกฤษ เป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงไม่ยอมทำการแก้ไข

ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้สภาพสังคมไทย เปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อนำประเทศให้เจริญก้าวหน้า ตามแบบอารยธรรมตะวันตก การเปลี่ยนแปลง ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้

1.ด้านการปกครอง
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่าง เพื่อให้ราษฎร มีโอกาสใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ คือ เปิดโอกาสให้ราษฎร เข้าเฝ้าได้โดยสะดวก ให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีการ้องทุกข์ได้ ในขณะที่ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ครั้งสำคัญ โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การปรับปรุงในระยะแรก ให้ตั้งสภา 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และ สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) กับการปรับปรุงการปกครอง ในระยะหลัง (พ.ศ. 2435) ซึ่งนับว่า เป็นการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยมีลักษณะ คือ การปกครองส่วนกลาง โปรดให้ยกเลิกการปกครอง แบบจตุสดมภ์ และ จัดแบ่งหน่วยราชการเป็นกรมต่าง ๆ 12 กรม (กะรทรวง) มีเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง การปกครองส่วนภูมิภาค ทรงยกเลิก การจัดหัวเมืองที่แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี และจัตวา เปลี่ยนการปกครองเป็น เทศาภิบาล ทรงโปรดให้รวมเมืองหลายเมืองเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครอง ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย กับทรงแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด (เมือง) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน และการปกครองส่วนท้องถิ่น เริ่มจัดการทดลองแบบ สุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก

2. ด้านเศรษฐกิจ
ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้ว การค้าของไทยเจริญก้าวหน้าขึ้น มาก ทำให้มีการปรับปรุงด้านเศรษฐกิจ เช่น ในรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนการใช้เงินพดด้วงมาเป็นเงินเหรียญ และขุดคลอง ตัดถนนเพิ่มขึ้นหลายสาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใช้ระบบทศนิยม ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนเงิน ให้ใช้เหรียญบาท สลึง และเหรียญสตางค์แทนเงินแบบเดิม มีการจัดตั้งธนาคารของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรก คือ แบางก์สยามกัมมาจล (ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์) ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้ตั้งคลังออมสินขึ้น (ปัจจุบันคือ ธนาคารออมสิน)

3.ด้านวัฒนธรรม
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า ทรงให้เสรีภาพประชาชน ในการนับถือศาสนาและประกอบอาชีพ โปรดให้สตรีได้ยกฐานให้สูงขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการสวมเสื้อราชปะแตก และสวมหมวกอย่างยุโรป ให้ข้าราชการทหารแต่งเครื่องแบบ ตามแบบตะวันตก โปรดให้ผู้ชายในราชสำนัก ไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนมาไว้ผมตัดยาวทั้งศีรษะแบบฝรั่ง โปรดให้ผู้หญิงเลิกไว้ผมปีก ให้ไว้ผมตัดยาว ที่เรียกว่า "ทรงดอกกระุุทุ่ม" ทรงแก้ไขประเพณีการสืบสันตติวงศ์ โดยยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แล้วโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ขึ้น ทรงเลิกประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้า และให้ยืนเข้าเฝ้าแทน ยกเลิกการโกนผม เมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต ยกเลิกการไต่สวนคดีแบบจารีตนครบาล และที่สำคัญที่สุด ที่พระองค์ทรงได้พระราชสมัญญานาม ว่า "พระปิยมหาราช" ซึ่งแปลว่า มหาราชที่ทรงเป็นที่รักของประชาชน คือการยกเลิกระบบไพร่ และระบบทาส ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัตินามกสุล โปรดให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชทางราชการ แทนรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการ ให้สอดคล้องกับสากลนิยม โปรดให้กำหนดคำนำหน้าชื่อเด็กหญิง เด็กชาย นางสาว และนาง เปลียนแปลงธงประจำชาติ จากธงรูปช้างเผือก มาเป็นธงไตรรงค์ ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ตามแบบประเทศยุโรป


4.สภาพสังคม
การเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงดำริว่า การที่ประเทศไทยมีชนชั้นทาสมากเท่ากับเป็นการเสียเศรษฐกิจของชาติ และทำให้ต่างชาติดูถูกและเห็นว่าประเทศไทยป่าเถื่อนด้อยความเจริญ ซึ่งมีผลทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างๆ คิดจะเข้าครอบครองไทย โดยอ้างว่า เพื่อช่วยพัฒนาประเทศไทยให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆ ที่เจริญแล้วทั้งหลาย
ดังนั้น ใน พ.ศ.2417 พระองค์จึงทรงเริ่มออกพระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทขึ้น โดยกำหนดค่าตัวทาสอายุ 7-8 ปี มีค่าตัวสูงสุด 12-14 ตำลึง แล้วลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีอายุ 21 ปี ค่าตัวจะเหลือเพียง 3 บาท ซึ่งทำให้ทาสมีโอกาสไถ่ตัวเป็นไทได้มากและใน พ.ศ.2420 พระองค์ทรงบริจาคเงินจำนวนหนึ่งเพื่อไถ่ตัวทาสที่อยู่กับเจ้านายมาครบ 25 ปี จำนวน 45 คน พ.ศ.2443 ทรงออกกฎหมายให้ทาสสินไถ่อายุครบ 60 ปี พ้นจากการเป็นทาสและห้ามขายตัวเป็นทาสอีก พ.ศ.2448 ออกพระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 บังคับทั่วประเทศ ห้ามมีการซื้อทาสต่อไป ให้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาท จนครบจำนวนเงิน และให้บรรดาทาสเป็นไททั้งหมด
การเลิกทาสของพระองค์ประสบความสำเร็จอย่างดี เป็นเพราะพระปรีชาญาณและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ทรงใช้ทางสายกลาง ค่อยๆดำเนินงานไปทีละขั้นตอน ทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงดังเช่นประเทศต่างๆ ที่เคยประสบมา


การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 กลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ต่อมาเรียกตนเองว่า "คณะราษฎร" ได้ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
คณะราษฎรเกิดจากการรวมกลุ่มของข้าราชการและนักเรียนไทย 7 คนในฝรั่งเศสและยุโรปที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม ภายใต้การนำของนายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เมื่อนักเรียนเหล่านี้กลับมาเมืองไทยก็ได้ขยายกลุ่มสมาชิกภายในประเทศและขอให้พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นแกนนำฝ่ายพลเรือน หลวงพิบูลสงครามเป็นแกนนำฝ่ายทหารบก

1. สาเหตุของการปฏิวัติ เกิดจากปัจจัยทางการเมืองและปัจจัยทางเศรษฐกิจ ในด้านปัจจัยทางการเมือง การปฏิรูปบ้านเมืองและปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้เกิดชนชั้นกลางที่เรียนรู้รูปแบบการเมืองการปกครองของชาติตะวันตก ทำให้เห็นว่าการปกครองโดยคน ๆ เดียวหรือสถาบันเดียวไม่อาจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ทั้งหมด นอกจากนี้ชนชั้นกลางจำนวนมากไม่พอใจที่บรรดาเชื้อพระวงศ์ผูกขาดอำนาจการปกครองและการบริหารราชการ กลุ่มคนรุ่นใหม่ต้องการให้มีการปกครองระบอบรัฐสภาและมีรัฐธรรมนูญ บางกลุ่มต้องการให้มีการปกครองระบอบสาธารณรัฐ
ในด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและการดุลข้าราชการออกจำนวนมากเพื่อตัดลดงบประมาณ ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการและประชาชนที่เดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งที่คณะราษฎรใช้โจมตีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

2. เหตุการณ์วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในวันที่ 24 มิถุนายน คณะผู้ก่อการเข้ายึดอำนาจการปกครองที่กรุงเทพมหานคร และจับกุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า ฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพอภิรัฐมนตรี เป็นตัวประกัน
ส่วนบริเวณลานหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคุณะผู้ก่อการได้อ่านประกาศยึดอำนาจการปกครอง ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี ประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยอมารับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฏร เพราะทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของราษฎรและไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ รวมทั้งพระองค์ก็ทรงมีพระราชดำริที่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตยอยู่แล้ว
ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้เข้าเฝ้า ฯ และนำร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2475 ขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย เพื่อให้ลงพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเติมคำว่า "ชั่วคราว" ต่อท้ายรัฐธรรมนูญ นับเป็นการเริ่มต้นระบอบรัฐธรรมนูญของไทย ต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้มีพระราชพิธีพระราชทานรัฐ


บทบาทพระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อการพัฒนาชาติไทย





บทบาทพระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อการพัฒนาชาติไทย

ด้านการเมือง
สถาบันพระมหากษัตริย์ได้มีบทบาทเกี่ยวกับการเมืองการปกครองการรวมชาติ การสร้างเอกราช การวางรากฐานการเมืองการปกครอง การสร้างเสถียรภาพทางการเมืองการปกครอง การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินตั้งแต่อดีตสืบต่อมาตลอดปัจจุบันบทบาทของพระมหากษัตริย์มีส่วนช่วยสร้างเอกภาพของประเทศเป็นอย่างมาก คนไทยทุกกลุ่มไม่ว่าศาสนาใดมีขนบธรรมเนียมแตกต่างกันอย่างไรก็มีความรู้สึกร่วมในการมีพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน การเสด็จออกเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ แม้ท้องถิ่นทุรกันดาร หรือมากด้วยภยันตรายอยู่ตลอดเวลา ทำให้ราษฎรมีขวัญและกำลังใจดี มีความรู้สึกผูกพันกับชาติว่ามิได้ถูกทอดทิ้ง พระราชกรณียกิจดังกล่าวของพระองค์มีส่วนช่วยในการปกครองเป็นอย่างมากพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์นั้นมีมาก และล้วนก่อประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อส่วนรวมทั้งสิ้น แม้การปฏิบัติพระราชกรณียกิจจะเป็นพระราชภาระอันหนัก แต่ก็ได้ทรงกระทำอย่างครบถ้วนสม่ำเสมอ จนกระทั่งสามารถที่จะผูกจิตใจของประชาชนให้เกิดความจงรักภักดี เพาะตระหนักถึงน้ำพระทัยของพระองค์ว่า ทรงเห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมมากกว่าพระองค์เอง ทรงเสียสละยอมทุกข์ยากเพื่อบ้านเมืองอย่างแท้จริงดังพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม

ด้านเศรษฐกิจ
การพัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญๆ ของชาติส่วนใหญ่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปูพื้นฐานประชาธิปไตย โดยการจัดตั้งกระทรวงต่างๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่างๆ ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนาธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลักทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยจะเห็นว่าโครงการตามพระราชดำริส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาหลักทางเกษตรกรรมเพื่อชาวนา ชาวไร่ และประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสอันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น โครงการฝนหลวง ชลประทาน พัฒนาที่ดิน พัฒนาชาวเขา เป็นต้น

ด้านสังคมและวัฒนธรรม
พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขและความเจริญแก่สังคม ได้ทรงริเริ่มโครงการต่างๆ ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พระราชดำริและโครงการที่ทรงริเริ่มมีมากซึ่งล้วนแต่เป็นรากฐานในการพัฒนาชาติทั้งสิ้น โครงการของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่ โครงการอีสานเขียว โครงการฝนหลวง โครงการปลูกป่า โครงการขุดคลองระบายน้ำ โครงการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดในเมืองใหญ่ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ทรงทำเป็นแบบอย่างที่ดีประชาชนและหน่วยราชการนำไปปฏิบัติก่อให้เกิดประโยชน์ในทางการพัฒนาชาติขึ้นมาก นอกจากนี้ทรงทำให้เกิดความคิดในการดำรงชีวิตแบบใหม่ เช่น การประกอบอาชีพ การใช้วิทยาการมาช่วยทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

ด้านการต่างประเทศ
พระมหากษัตริย์ในอดีตได้ทรงดำเนินวิเทโศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นในรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันก็ทรงดำเนินการให้เกิดความเข้าใจอันดี ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่างๆ กับประเทศไทย โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นทูตสันถวไมตรีกับประเทศต่างๆ ไม่น้อยกว่า 31 ประเทศ ทำให้นโยบายต่างประเทศดำเนินไปอย่างสะดวกและราบรื่น นอกจากนั้นยังทรงเป็นผู้แทนประเทศไทยต้อนรับประมุขประเทศ ผู้นำประเทศ เอกอัครราชทูต และทูตสันถวไมตรีจากต่างประเทศอีกด้วย